การสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมมูลควาย บ้านนาเชือก ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะวดี ยอดนา สาขาวิชาบริหารการเงิน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สุดกมล ลาโสภา สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ผ้าย้อมมูลควาย, อัตลักษณ์, บ้านนาเชือก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมมูลควาย โอกาสทางการตลาด ปัญหา และอุปสรรคของกลุ่มผู้ผลิตผ้าย้อมมูลควาย บ้านนาเชือก ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 7 คน ผลการวิจัย พบว่า การสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมมูลควายเกิดจากการเชื่อมโยงทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการนำวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่รวมกลุ่มทอผ้า ย้อมผ้า เลี้ยงควาย มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมมูลควายภายใต้ โลโก้ “ควาย”  ที่มีความแตกต่าง โดดเด่น สะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีโอกาสทางการตลาด โดยเฉพาะตลาดท่องเที่ยวทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ  และทำให้ชุมชนมีรายได้เสริม อย่างไรก็ตามผู้ผลิตยังคงมีปัญหาด้านเงินทุนในการพัฒนาศักยภาพตลาด และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

References

กิตติกรณ์ บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เกษม กุณาศรี, ชนิตา พันธุ์มณี, และสมบัติ สิงฆราช. (2559). การค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จิรภัทร เริ่มศรี. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ประไพพิมพ์ พานิชสมัย. (2560). ออกแบบอัตลักษณ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนท่าแพ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ (ศล.ม.) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์, พิชา วิสิทธิ์พานิช และภัทราพร ตึกขาว. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปิ่น บุตรี. (2561). ผ้าย้อมขี้ควาย บ้านนาเชือก จังหวัดสกลนคร. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก mgronline.com/travel/detail.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. (2542). อัตลักษณ์. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/.

พระฉัฐกรณ์ มหาภิญโญภิกขุ. (2566, กันยายน 1). วัดป่าภูมิธนารักษ์ธรรมาราม อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.

มัณฑิตา จินดา. (2566). กลยุทธ์การตลาด. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.bankokbiznews.Com/business.

ยุพดี วรรณวิจิตร. (2557). การพัฒนาทุนชุมชน. สืบค้น 18 สิงหาคม 2566. เข้าถึงได้จาก www.Uttaradit.cdd.go.th.

วาทิณี หลีปุ่ม. (2563). อัตลักษณ์ภูมิปัญญากับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาภูมิปัญญาการทำกรงนกชุมชนบ้านนา ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์. (2561). การออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ปลานิลแปรรูปของชุมชนบ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2564). เศรษฐกิจฐานราก. สืบค้น 19 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://web.codi.or.th /development_project/20201125-20029/.

สายสุณี ไชยหงษา. (2566, กันยายน 1). บ้านนาเชือก ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ทุนทางวัฒนธรรม. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2566.เข้าถึงได้จาก www.nesac.go.th.

สุบัน บัวขาว. (2562). การพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2566). ทุนหลากมิติ. สืบค้น 1 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.eff.or.th>article-2.

อิษฏ์ ปักกันต์ธร. (2566). ทุนหลากมิติ. สืบค้น 1 กันยายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.eff.or.th>article-2.

Doyle, P. (2002). Marketing management and strategy. UK: cs-books@Wiley.co.uk

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11