การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • อักษรศาสตร์ ทองคำบุตร หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การจัดการเรียนรู้, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 225 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายและกำหนดสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .91 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาส จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) การส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 5 แนวทาง คือ 1) ด้านเกษตรกรรม ควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อนำไปต่อยอดใช้ในชีวิตจริงได้ 2) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ควรเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านมาให้ความรู้และแนะแนวเส้นทางการประกอบอาชีพให้กับนักเรียน 3) ด้านการแพทย์แผนไทย ควรใช้สิ่งใกล้ตัวของนักเรียนและเชิญปราชญ์ชาวบ้านด้านการแพทย์แผนไทยมาให้ความรู้เพิ่มเติม  4) ด้านศิลปกรรม ควรจัดการเรียนรู้โดยศึกษาจากวัฒนธรรมความเป็นมาของชุมชน 5) ด้านภาษาและวรรณกรรม ควรจัดการเรียนรู้โดยอาศัยจุดเด่นของแต่ละชุมชนหรือเชิญปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้มาให้ความรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2557). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 29 สิงหาคม 2565 จาก https://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2013/10/2089_5390.pdf

ดารุณี เดชยศดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดวงจันทร์ แก้วกงพาน, จันทร์จิรา ไพบูลย์นำทรัพย์, รุ่งไพลิน ฤทธิ์นา และชิลาพัชร์ ชูทอง. (2562). การออกแบบ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(3), 397-413.

ทรงจิต พูลลาภ. (2544). รายงานการศึกษาสำรวจศักยภาพและสถานภาพของภูมิปัญญาไทยเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.

นรินทร์ ลีกระโทก. (2557). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรในชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

นิชานันท์ ตันสุริยา. (2558). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

นุรไอนี ดือรามะ และณัฐินี โมพันธ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 12(22), 77-91.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาลินี สวยค้าข้าว. (2538). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุทธา จักคาม. (2555). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารภูมิปัญญาท้องถิ่นตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.

สกุลพร หศิภาพร. (2559). การสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2551). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21 เรื่องที่ 1 ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. (2565). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. สืบค้น 21 มีนาคม 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/1Vn2ZaeMMHcA02mv4ig4bzJIU73yjpQJe/view.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_linkphp?nid=6422.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2535). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเชิงประเด็นงานวิจัยสำรวจสภาวการณ์ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงานการประชุมความคิด เรื่อง รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวิถีชีวิตภูมิปัญญาไทยด้านต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำเนา หมื่นแจ่ม. (2558). รายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนาครูในการสร้างฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

หนึ่งฤทัย ไชยเดช. (2554). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่เยาวชนด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาของกลุ่มสตรีผู้นําชุมชนกรณีศึกษา หมู่บ้านหัวทุ่ง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อังกูล สมคะเนย์. (2535). สภาพและปัญหาการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้พัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร จันทรางกูล. (2555). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.

อานันท์ ปันยารชุน. (2541). “ผู้นำ” คือผู้ที่คนอื่นอยากตาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

ทองคำบุตร อ. . (2024). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 836–852. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2691