ปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษ หลักหาญ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปวินี ไพรทอง หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความชั่วร้าย, การใช้ดุลพินิจลดโทษ, ข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาที่มา หลักเกณฑ์ และแนวความคิด เกี่ยวกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78  2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ในการลดโทษให้แก่จำเลย ตามหลักกฎหมายของประเทศไทย ประเทศเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ  3) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยในส่วนที่เป็นโทษหรือในด้านความชั่วร้าย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ 4) เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ให้มีการกำหนดโทษจำเลยแต่ละรายนั้นเป็นไปด้วยความเหมาะสม และ 5) ให้สามารถบังคับใช้กฎหมาย และป้องกันปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าตำรา บทความ งานวิจัยทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลดโทษให้แก่จำเลยเมื่อมีเหตุบรรเทาโทษ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัย และนำมาวิเคราะห์ปัญหา อันนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย  จากการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันศาลได้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 มาลดโทษให้แก่จำเลยถึงกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงในเกือบจะทุกคดี 2) บทบัญญัติ มาตรา 78 ไม่เปิดช่องให้ศาลนำข้อเท็จจริงในส่วนที่เป็นโทษแก่ตัวจำเลย หรือในด้านความชั่วร้ายของจำเลย มาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษได้ 3) การลดโทษให้แก่จำเลย ถึงกึ่งหนึ่งนี้ ทำให้การกำหนดโทษแต่ละคดีไม่มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอาญา 4) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยบัญญัติให้ศาลสามารถนำข้อเท็จจริง ในส่วนที่เป็นโทษแก่จำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจลดโทษให้แก่จำเลยได้ 5) หากมีการกำหนดโทษให้มีความเหมาะสมกับจำเลยแต่ละราย จะสามารถบังคับใช้กฎหมายอาญาในการป้องกันอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชนาธิป เศรษฐสุวรรณ. (2537). เหตุบรรเทาโทษ: ศึกษากรณีการใช้ดุลพินิจลดโทษเมื่อจำเลยรับสารภาพในชั้นพิจารณา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงฤทธิ์ พินิจการวัฒน์กุล. (2547). การใช้เหตุบรรเทาโทษของศาลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาศาลชั้นต้น. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลากการยุติธรรม.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2558). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพ: วิญญูชน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ. (2539). การตีความกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร (2563). อนุสนธิจากข้อสังเกตบางประการในความไม่เรียบร้อยของสังคมกับกระบวนการยุติธรรม. รวมผลงานทางวิชาการ เล่ม 1. สำนักงานศาลยุติธรรม.

นฤมล อังคณาภิวัฒน์. (2537). เหตุบรรเทาโทษ: ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการใช้ในศาลไทยกับศาลต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร กาญจนสูตร. (2556). การใช้เหตุบรรเทาโทษของศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78: ศึกษากรณีการให้เหตุผลของศาลในเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน. เอกสารวิชาการส่วนบุคคล การอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 11. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.

อุทิศ สุภาพ. (กันยายน-ธันวาคม 2562). การพัฒนากระบวนการลงโทษของศาลในคดีอาญา: ศึกษาเฉพาะกรณีการ นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิดมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุก. ดุลพาหปีที่ 66. เล่มที่ 3. กรุงเทพ: สำนักงานศาลยุติธรรม.

อุทิศ แสนโกศิก. (2525). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการ กองวิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

หลักหาญ จ., ถนัดศิลปกุล ล., & ไพรทอง ป. (2024). ปัญหาทางกฎหมายในการนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวจำเลยมาประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลดโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 1128–1141. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2755