การจัดการความรู้ของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์ หารบัวคำ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วันเพ็ญ นันทะศรี สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วัลนิภา ฉลากบาง สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, คุณภาพผู้เรียน, การกำหนดความรู้, การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความรู้ของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 339 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านการจัดการความรู้ของครู มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .38-.63 และค่าความเชื่อมั่น .76 ส่วนด้านคุณภาพผู้เรียน มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง .80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .36-.56 และค่าความเชื่อมั่น .73 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้ของครู ประกอบด้วย (1) การกำหนดความรู้ (2) การแสวงหาและสร้างความรู้ (3) การจัดระบบความรู้ (4) การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ และ (5) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 2) การจัดการความรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การจัดการความรู้ของครูมีความสัมพันธ์กับคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง 4) การจัดการความรู้ของครู ด้านการกำหนดความรู้มีอิทธิพลต่อคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้มีอิทธิพลต่อคุณภาพผู้เรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์คุณภาพผู้เรียนได้ร้อยละ 43.10 5) แนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกำหนดความรู้ และ 2) ด้านการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้

References

กมลชนก ศรีสุดา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนกับประสิทธิผลตามมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กีรติ ฉิมพุฒ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

คณะกรรมการจัดการความรู้ วิทยาลัยเชียงราย. (2555). คู่มือการจัดการความรู้ (Knowledge management: KM). วิทยาลัยเชียงราย.

จริยา แซ่อึ้ง. (2563). การจัดการความรู้กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส.

พงษ์ศักดิ์ ศิริโอภา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

พวงพรรณ แสงนาโก. (2559). การจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเขาสมิงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชนี กาสุริย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2565). รายงานประจำปี 2565. สกลนคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (2564). รายงานประจำปี 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). สมุทรปราการ: ออฟเซ็ท พลัส.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุทิน เจริญอินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุรพล พิมพ์สอน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อมรรัตน์ เชิงหอม. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุดมรัตน์ จรัสศรี. (2560). การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Davenport, T., & Prusak, L. (1998). Working knowledge: How organizations manage what they know. Boston: Harvard Business School Press.

Maral. (2001). Production of Biogenic amines and their potential use as quality control indices for hake (Merluccius merluccids) stored in ice. J. Agri Food Chem, 66, 1030-1033.

McKeen, J. D. & Smith, H. A. (2003). Marking IT Happen: Critical Issues IT Management. Ontario: Wiley.

Nonaka & Takeuchi, (1959). The Knowledge-creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation, New York: Oxford University Press.

Tiwana, A. (2002). The knowledge management toolkit. Upper Saddle River. NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-11