การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นิรมล เนื่องสิทธะ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จินตนา จันทนนท์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นันทกาญจน์ เกิดมาลัย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • นวรัตน์ สุรัติวรพัทธ์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เจตรัมภา พรหมทะสาร หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กฤตกร มั่นสุวรรณ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาทินี ศรีมหา หลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, เครื่องปั้นดินเผา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาต้นทุนรายผลิตภัณฑ์ 2) ศึกษาผลตอบแทนรายผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่สมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 20 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและอัตราส่วน จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ กระถางปลูกต้นไม้ โอ่งพร้อมฝาปิด กระถางแขวนและผลิตภัณฑ์ ประเภทงานตามสั่งของลูกค้า ต้นทุนผลิตภัณฑ์ภาพรวมมีต้นทุนการผลิต 28,245 บาท/เดือน สามารถผลิตสินค้าได้ 6 ประเภท จำนวน 1,430 ชิ้น ภาพรวมต้นทุนต่อหน่วยสินค้าต่อชิ้นเท่ากับ 19.75 บาท (ประมาณเป็นจำนวนเต็มได้เท่ากับชิ้นละ 20 บาท) ต้นทุนส่วนใหญ่มาจากค่าแรงงาน 19,520 บาท คิดเป็น 69.10% รองลงมาคือวัตถุดิบ 6,325 บาท คิดเป็น 22.39% และค่าใช้จ่าย 2,400 บาท คิดเป็น 8.51% เรียงตามลำดับ ในส่วนการจำแนกต้นทุนรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ต้นทุนการผลิต ต้นทุนส่วนใหญ่มาจากค่าแรงงาน อยู่ระหว่าง 61.32-69.97% รองลงมาคือวัตถุดิบ อยู่ระหว่าง 22.36-29.38 % และค่าใช้จ่าย คิดเป็น 7.22-9.30% รายได้จากการขาย แบ่งเป็น 2 แบบ คือจากราคาขายส่งโดยต้องจัดซื้อจำนวน 20 ชิ้นขึ้นไป และราคาขายปลีก โดยราคาจากการประมาณการกำหนดไว้เพื่อขายจะแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ มีราคาตั้งแต่ 19.60 – 50.40 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดราคาขายจากสินค้าลักษณะเดียวกันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 30,000-70,000 บาท/เดือน กำไรอยู่ระหว่าง 9,000-35,000 บาท และราคาขายจริงไม่แตกต่างกันมากจากราคาประมาณการ สามารถคิดอัตราผลตอบแทนได้ดังนี้ อัตราผลตอบแทนภาพรวมของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ระหว่าง 33.35-64.12% และอัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin: NPM) 32.59-55.75 %

References

จินตนา จันทนนท์, ศักดาเดช กุลากุล, และนิรมล เนื่องสิทธะ. (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกแตงโมเกษตรกร กรณีศึกษา ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 37-50.

จิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์. (2563). การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตําบลบ้านแก่ง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กระแสวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 22(42), 19-33.

ชุติมา นิ่มนวล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการบริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 22(1), 27-34.

ฐานันดร ปรีดากัญญารัตน์. (2560). การวิเคราะห์ต้นทุน. วารสารราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 5(2), 77-91.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2553). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.

เทศบาลตำบลเชียงเครือ. (2566). ศูนย์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ. สืบค้น 6 มีนาคม 2566 จาก http://www.chkr.go.th/2018/index.php/.

ทะเบียนสมาชิกกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ. (2566), สืบค้น ณ วันที่ 15 มีนาคม 2566.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2559). การบัญชีต้นทุนเบื้องต้น (Cost Accounting). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

พนมศักดิ์ สุวิสุทธิ์. (2561). การวิจัยเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านแนวแม่น้ำเจ้าพระยา. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 98-114.

ไพบูลย์ ผจงวงศ์. (2561). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท แสงดาว จำกัด.

พีรพัฒน์ เงินเหม และศิริรัตน์ โกศการิกา. (2565).ความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดและกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ร้านแก้ไขเสื้อผ้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 53-67.

วิวิศณ์ สุขแสงอร่าม กฤตชน วงศ์รัตน์ และณัฐอร มหาทํานุโชค. (2566). แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้ธัญพืชเพื่อ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของ My Mon ตําบลไร่สะท้อนอําเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 99-112.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์การมหาชน. (2566). จุดเด่นบ้านเชียงเครือ. สืบค้น 6 มีนาคม 2566 จาก https://wikicommunity.sac.or.th/.

สุพะยอม นาจะนทร์, ปทุมพร หิรัญสาลี, จุไรรัตน์ ทองบุญชู, วรกร ภูวิเศษ, และลักขณา ดำชู. (2562). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนของกลุ่มหัตถกรรมบ้านชุมพอ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 5-6 สิงหาคม 2562 ณ (หน้า 923-939). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สมปอง ช่วงทิพย์ (2556). การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ ตําบลเชียงเครือ อําเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(50), 35-46.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

อนุรัตน์ ภูวานคำ. (2563). รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเนื้อดินด่านเกวียนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Kotler, P. (2000). Marketing management (The millennium ed.). New Jersey: Prentice Hall International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

เนื่องสิทธะ น., จันทนนท์ จ., เกิดมาลัย น., สุรัติวรพัทธ์ น., พรหมทะสาร เ., มั่นสุวรรณ ก., & ศรีมหา ว. (2024). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 1175–1187. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/2950