ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ประโมทย์ ติยะบุตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • สำราญ วิเศษ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • จารุกัญญา อุดานนท์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • กชกร เดชะคำภู สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, แผนพัฒนาจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 3) เพื่อวิเคราะห์บริบทการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม 4) เพื่อศึกษาแนวทางข้อเสนอแนะการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม จำนวน 141 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson’s correlation coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (multiple linear regression) แบบสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เรียงลำดับจากตัวแปรที่มีผลต่อการผันแปรในตัวแปรตามในรูปของคะแนนมาตรฐานมากที่สุดไปหาน้อย ดังนี้ ด้านแนวคิดประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด (X3 Beta = .320) ด้านการบริการสาธารณะแนวใหม่ (X4 Beta = .216) 3) บริบทการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และการประชุมประชาคมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 4) แนวทางข้อเสนอแนะ ได้แก่ แผนพัฒนาจังหวัดเปรียบเสมือนแผนแม่บทที่ทุกหน่วยงานในจังหวัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาต่าง ๆ การสำรวจและรับฟังปัญหาของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้น นำสู่การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ แผนพัฒนาจังหวัดสามารถชี้เป้าให้ราชการส่วนกลางนำไปจัดสรรงบประมาณ มีการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (joint KPI) จังหวัดต้องมีผู้นำดี มีทีมงานที่ดี และมีเครือข่ายในการจัดทำแผน ในทุกระดับ ประกอบกับต้องมีองค์ความรู้ในการจัดทำแผนและการประเมินผล เน้นการทำงานแบบบูรณาการใน เชิงพื้นที่เพื่อให้ห่วงโซ่คุณค่า (value chain) มีความสมบูรณ์ ราชการส่วนกลางมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบ (Chief Executive Officer: CEO) คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและเจ้าหน้าที่แผน มีแรงจูงใจในด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และประชาชนมีแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตั้งแต่เริ่มต้นโดยสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด

References

กานต์ชนก แถนสีแสง และกฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2563). การนําแผนพัฒนาจังหวัดไปปฏิบัติของหน่วยบริหารราชการส่วนภูมิภาคภายในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 14 (1). 139-152.

คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ. (2565). นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 – 257. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=13348&filename=index.

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และพงษ์เสถียร เหลืองอลงกต. (2561). การวางแผนและบริหารแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการ: เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดระยอง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), 23-33.

ชลธิชา วงศ์บุตร และรุ่งอรุณ บุญสายันต์. (2561). การพัฒนาธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกรณีศึกษาจังหวัดมหาสารคาม. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), 7(2), 376-405.

ทัศนันท์ ใจบุญ, สุภัสรา บุญเรือง , นิตยา วงศ์ยศ, สุนีย์ ยังสว่าง และผกาภรณ์ บุสบง. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 119-131.

พรชัย เทพปัญญา. (2561). การพัฒนารูปแบบการวางแผนและการจัดทำงบประมาณ ในลักษณะบูรณาการที่รองรับการปฏิบัติงานตามนโยบายรัฐบาล. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11 (1), 1-15.

พวงเพชร ราศีสวย, ภักดี โพธิ์สิงห์, สัญญา เคณาภูมิ และสุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. (2561). การบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการกับชุมชนท้องถิ่นสวัสดิการ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 385-398.

รัชรฐา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2558). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลพบุรี . ศูนย์ข้อมูลการวิจัย Digital วช. สืบค้น 1 มิถุนายน 2566 จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=1 .14457/MU.the.2015.43.

สำนักงานจังหวัดนครพนม. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2566 – 2570. นครพนม: สำนักงานจังหวัดนครพนม.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพทางรัฐประศาสนศาสตร์ประมวลสาระชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). สืบค้น 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). โครงการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาภาค แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดภายใต้กลไก ก.บ.ภ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2563). ความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

ติยะบุตร ป., วิเศษ ส., อุดานนท์ จ., & เดชะคำภู ก. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(4), 1308–1324. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3057