ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร
คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, การยื่นแบบแสดงรายการทางอินเทอร์เน็ตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย F-test โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และ MANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในเขตเทศบาลนครสกลนคร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจำแนกตาม 1) อายุ พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีอายุแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี 2) ระดับการศึกษา พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี และ 3) อาชีพ พบว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านมาตรการทางภาษี และด้านสิทธิประโยชน์ค่าลดหย่อนภาษี
References
กรมสรรพากร. (2563). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การหักค่าใช้จ่าย. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.rd.go.th/556.html.
กรมสรรพากร. (2566). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าลดหย่อนทางภาษี. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.rd.go.th/59674.html.
ขวัญฤทัย พัฒน์แก้ว. (2563). การตัดสินใจเลือกใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 3. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดวงพร เพชรคง. (2560). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานกฎหมาย 2 สำนักกฎหมายสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธัญนุช มานะชัยมงคล. (2563). ความรู้ความเข้าใจในการยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา กรณีศึกษาประชากรพื้นที่เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และวาสนา ดวงดารา. (2554). การบัญชีภาษีอากร. กรุงเทพฯ: หจก. ทีพีเอ็น เพรส.
นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยศึกษาสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปรียาพร บุ้งทอง. (2563). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060120.pdf.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วลัยพร แก้วสาร. (2562). ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 3. งานนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเมธ ศิริคุณโชติ, กำธร สิริชูติวงศ์, อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ และภิรัตน์ เจียรนัย. (2563). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2563. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเรือนแก้ว การพิมพ์.
สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). การยื่นแบบผ่านชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.
อนันธิตรา ดอนบันเทา. (2560). ปัญหาและสาเหตุการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในตำบลลานดอกไม้ตก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร วันที่ 22 ธันวาคม 2560 (หน้า 614-620). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
อรพินท์ สายมูล. (2564). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2566 จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214155532.pdf.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper & Row.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of Marketing (17th ed). The University of Minnesota Libraries Publishing. https://open.lib.umn.edu/principlesmarketing/.
Kumar, S., & Gupta, S. (2017). A Study on Income Tax Payer’S Perception Towards Electronic Filing. The Journal of Internet Banking and Commerce, 22(S7), 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน