การรับรู้ ทัศนคติ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชัน Z
คำสำคัญ:
การรับรู้, ทัศนคติ, การสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ถึงตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติที่มีต่อตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค Generation Z เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ประชากร คือ ผู้บริโภค ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง กลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคํานวณของ Cochran (1977) มาใช้ในการวิเคราะห์หาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยมีการกำหนดระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และสามารถยอมรับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 คำนวณได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 คน ดังนั้นจึงใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 405 คน และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่า ผู้ที่ติดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสอง ให้ความสำคัญกับการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้า และการรับรู้ถึงตราสินค้า ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้ถึงตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม มือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภคมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของการรับรู้ถึงตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้ร้อยละ 64.60 2) ทัศนคติที่มีต่อตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของทัศนคติที่มีต่อตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ร้อยละ 53.80 3) การสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของผู้บริโภค มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายค่าความผันแปรของการสร้างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมมือสองผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้ร้อยละ 52.30
References
กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
จินตนา สุริยะศรี. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการเลือกซื้อและการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(1), 190-202.
ฉัตรชัย พิศพล. (2563). คุณค่าตราสินค้าโฮสเทลในประเทศไทย. รายงานผลการวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ณัฐพงศ์ เจริญดีทรัพย์สิริ, ศิริรัตน์ โกศการิกา, และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2564). การสื่อสารทางการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ตราสินค้าและส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าออนไลน์. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 15(23), 21-4.
นิภา นิรุตติกุล. (2558). การพยากรณ์การขาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประชาชาติธุรกิจ. (2566). เทรนด์ฟาสต์แฟชั่นในไทยลดลง คน Gen Z ไม่อายซื้อสินค้ามือสอง. สืบค้น 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-news/news-1398241.
เพชรรัตน์ จินต์นุพงศ์. (2565). อิทธิพลของบุคลิกภาพของตราสินค้า ความตั้งใจซื้อสินค้า และทัศนคติของผู้บริโภคต่อตราสินค้า ที่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าในธุรกิจขายตรงหลายชั้น. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 14(3), 159-172.
ลงทุนเกิร์ล. (2564). กรณีศึกษาทำไมตลาดเสื้อผ้ามือสองกำลังมาแรง. สืบค้น 12 ธันวาคม 2566 จาก https://www.longtungirl.com/2334.
วรลักษณ์ นครแสน. (2562). ความต้องการการจดจำในสังคม การรับรู้คุณค่า และการรีวิวสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์เนมมือสองทางออนไลน์ของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วันทยา เฉลิมพลวรรณคดี, และสมบัติ ธำรงสินถาวร. (2563). ปัจจัยด้านการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจระดับบุคคลและปัจจัยด้านสังคมที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 1-20.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์, และณัฐฌา ปักกัง. (2563). การดำเนินงานในเครือข่ายธุรกิจเสื้อผ้ามือสอง. วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์ (มสป), 22(1), 221-223.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้น 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.
Gadenne, D., Sharma, B. , Kerr, D. V., & Smith, T. (2011). The Influence of Consumers' Environmental Beliefs and Attitudes on Energy Saving Behaviors. Energy Policy, 39(12), 7684-7694.
ILI.U. (2565). แบรนด์เนมมือสอง ของแท้แต่ยั่งยืน คือคำตอบของคนยุคใหม่. สืบค้น 28 ธันวาคม 2566 จาก https://www.the1.co.th/the1today/articles/4022.
Kovacs, G. (2008). Corporate Environmental Responsibility in the Supply Chain. Journal of Cleaner Production, 16(15), 1571-1578.
Oliver, J. D., & Lee, S. H. (2010). Hybrid Car Purchase Intentions: A Cross-Cultural an Analysis. Journal of Consumer Marketing, 27(2), 96-103.
Roger, A. Kerin, Steven W. Hartley, & William Rudelius. (2009). Marketing: The Core (9th ed). New York: McGraw-Hill.
THREDUP. (2023). Thred UP Resale Report 2023. สืบค้น 28 ธันวาคม 2566 จาก https://cf-assets-tup.thredup.com/resale_report/2023/thredUP_2023_Resale_Report_FINAL.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน