แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • มยุราพร สุทธิประภา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • สืบชาติ อันทะไชย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชน, การตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค เขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนส่งผลต่อความต้องการของผู้บริโภคให้กลับมาซื้อซ้ำ และมีการบอกต่อ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่เขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 400 คน การทดสอบสมมติฐานของส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ พบว่า ด้านการสร้างประสบการณ์ ด้านความคุ้มค่า ด้านการเข้าถึงผู้บริโภค ด้านการสร้างความสัมพันธ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผลการสัมภาษณ์สามารถนำมาสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค เขตพื้นที่อำเภอเมือง บึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ร้านค้าปลีกในชุมชนมีจำนวนมากขึ้นจึงจะต้องมีการปรับตัวต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการอำนวยความสะดวก มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหน้าร้านและออนไลน์ มีบริการเก็บเงินปลายทาง มีการจัดโปรโมชัน มีพื้นจอดรถสะดวกสบาย

References

กิตติกร ไสยรินทร์. (2562). สถานการณ์ปัจจุบันและการปรับตัวของร้านค้าปลีกดั้งเดิมในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริชัย ดีเลิศ และสุภาวดี รัตนพงศ์พันธ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. Veridian E-Journal, 2(1), 2404-2424.

ธันยานี เคนคำภา. (2559). กลยุทธ์การค้าปลีก (ร้านสะดวกซื้อ) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในร้าน Banton Oriental Supermarket in Bath, United Kingdom. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kotler, P. (1997. Marketing management: analysis, planning, implementation and control (9th ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

สุทธิประภา ม., & อันทะไชย ส. (2024). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกดั้งเดิมในชุมชนที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคเขตพื้นที่อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 1040–1054. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3183