ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ จูมจะนะ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วันเพ็ญ นันทะศรี สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • อภิสิทธิ์ สมศรีสุข สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การบริหาร, ประสิทธิผล, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 311 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 42 คน และครู จำนวน 269 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมิน ค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .45 - .83 และค่าความเชื่อมั่น .98 และแบบสอบถามประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง .80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .46 - .83 และค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนา เด็กเล็กสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับสูงมาก (rxy .819) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ สภาพแวดล้อม (X6) การบริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาค ส่วน (X5) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (X2) และโครงสร้างองค์กร (X3) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (Y) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ร้อยละ 7.80 มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ ±.266 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ 4.1) สมการณ์พยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ Y’ = 1.078 +.264X5 +.267X6 + .130X2 +.094X3 4.2) สมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z’ = .353Z5 + .366Z6 + .175Z2 + .126Z3

References

งามทิพย์ มิตรสุภาพ. (2559). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลในเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จินตนา กุลากุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เจริญศรี พันปี. (2553). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่บริหารงานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนายุทธ ช่อมะลิ. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นันท์นภัส วิกุล. (2560). ประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับปฐมวัย ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 129 – 144.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริมล เชิดชู. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประสม มารศรี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ผกามาศ วิโสรัมย์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พิศมัย ผาอินดี. (2561). ประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบล บะหว้า อำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัยพุทธศักราช 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 6. 30 เมษายน 2562.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23. 19 สิงหาคม 2542.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศักดา หาญยุทธ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรในบริบทการจัดการความรู้เพื่อประสิทธิภาพการบริหารของเทศบาลเมืองสุโขทัย. วารสารวารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 6(3), 310-322.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. (2565). ปัญหาการจัดการศึกษาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 5 กันยายน 2565 จาก https://www.ombudsman.go.th/new.html.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีศึกษา: การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 9 สิงหาคม 2563 จาก https://www. nesdc.go.th.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครพนม. (2565). รายชื่อ/เลขที่ตำแหน่งข้าราชการครู/พนักงานครูสังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม. จุลสาร. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จังหวัดนครพนม.

สุนิสา ภู่เงิน. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมใจ พรมทองบุญ. (2559). ประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนในเขตพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงชลา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สมปรารถนา พรหมสูตร. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการ ดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ วิทยาลัยสันตพล, 6(2), 124-132.

สารภี เขียวแต้ม. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขตอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารปาริชาต, 30(2) 21-38.

อุไรวรรณ ศรีสุข. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามมาตรฐานการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย, 11(1), 1222-1236.

อารีย์ วุ่นบำรุง. (2562). ปัจจัยการบริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(1), 23-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

จูมจะนะ เ., นันทะศรี ว., & สมศรีสุข อ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(4), 1445–1461. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3302