การประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น, การประเมินผลบทคัดย่อ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครได้ดำเนินการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 144 แห่ง จากกระทรวงสาธารณสุข และได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร การวิจัยเชิงสำรวจนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าว โดยศึกษาแบบเจาะจงจากประชากรในการวิจัยคือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครในปี 2566 จำนวน 144 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของการบริหารสาธารณสุขท้องถิ่นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มีผลการปฏิบัติในระดับดี เมื่อพิจารณาการบริหารงานรายด้าน พบว่า มีการบริหารงานในระดับดีมากจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานข้อมูลบริการสุขภาพ การบริหารงานสาธารณสุขมูลฐานและการจัดบริการปฐมภูมิ และการบริหารงบประมาณ การเงิน บัญชี และการพัสดุ ตามลำดับ ส่วนการบริหารงานอีก 4 ด้าน จัดอยู่ในระดับดี ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ การบริหารโครงสร้างองค์กร และการกำกับ ติดตาม และประเมินผล
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.
ไตรรัตน์ โภคพลากร. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่อง การวางแผนเชิงกลยุทธ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีรเดช นรัตถรักษา, คณิดา นรัตถรักษา, ปิยะ ศิริลักษณ์, และสุภินดา ศิริลักษณ์. (2566). รวมระเบียบ กฎหมายที่เป็นข้อพึงระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการ.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542, พฤศจิกายน 17). ราชกิจจานุเบกษา, 116 (ตอน 114 ก), 48-66.
พิศดาร แสนชาติ. (2566). รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นภายหลังการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) (2542, ตุลาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา, 138 (ตอนพิเศษ 254 ง), 14-15.
สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, กมลพัฒน์ มากแจ้ง, ศรวณีย์ อวนศรี, วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, ธนินทร์ พัฒนศรี, ศักดิธัช อิทธิพสิฐ, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, และวลัยพร พัชรนฤมล. (2565). กลไกการประมวลสถานการณ์และการสนับสนุนงานวิชาการนโยบายและระบบสุขภาพ: กรณีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต การถ่ายโอนภารกิจสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2565). บันทึกตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครในด้านการสาธารณสุขมูลฐานและบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2566). สรุปผลการติดตามการบริการสุขภาพปฐมภูมิภายหลังการถ่ายโอนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 3 การวางแผน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. (2564). ญัตติ เรื่อง ขอแถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครเพื่อรับทราบการขอรับถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สกลนคร: กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. (2567). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบบริการพยาบาลในสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด” ครั้งที่1/2567 ในระหว่างวันที่ 18-19 มีนาคม 2567. สกลนคร: กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร.
Alkin, M. C. & Hofstetter, C. H., (2002). Evaluation. Boston: Way Lanham.
Dunn, W. N. (2004). Public Policy Analysis: An Introduction (3rd ed). New York: Taylor & Francis.
Dye, T. R. (1984). Understanding public policy (5th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน