การเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวระหว่างการสื่อสารการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สุมลมาลย์ อรรถวุฒิชัย หลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • สมใจ วงค์เทียนชัย หลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • เผด็จ ทุกข์สูญ หลักสูตรบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • สุวัจนกานดา พูลเอียด หลักสูตรการท่องเที่ยวและบริการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

คำสำคัญ:

การรับรู้, การท่องเที่ยว, การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ข้อมูลการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ระดับการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยว และเปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยจำแนกตามประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอด พบว่า ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นประจำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อมาพักผ่อนและหาซื้อสินค้าตามย่านการค้ากับกลุ่มเพื่อนและครอบครัวด้วยรถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวประมาณ 3,000 บาทต่อคน ในขณะที่ ผลการศึกษาการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่าน รูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ประกอบด้วย การถ่ายทอดสด ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และการตลาดเชิงเนื้อหา และ รูปแบบการสื่อสารการตลาดออฟไลน์ ประกอบด้วย ป้ายโฆษณา แผ่นพับใบปลิว และสื่อวิทยุ พบว่า นักท่องเที่ยวมีการรับรู้ข้อมูลอยู่ในระดับมาก และนอกจากนี้ผลการศึกษาการเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านรูปแบบการสื่อสารการตลาด พบว่า ประสบการณ์การมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอำเภอแม่สอดที่ต่างกัน ระดับการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านการนำเสนอภาพนิ่ง การตลาดเชิงเนื้อหา ป้ายโฆษณา และแผ่นพับใบปลิว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางที่สถิติที่ .05 และ .01 โดยเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยจะพบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเป็นประจำ มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวมากกว่านักท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยได้เดินทางมา ในขณะที่ การนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านการถ่ายทอดสด ภาพเคลื่อนไหว และสื่อวิทยุ ไม่มีความแตกต่างกันในการรับรู้

References

กณิศ อ่ำสกุล. (2566). อัปเดตดิจิทัลโพรไฟล์คนไทยเล่นเนตใช้ Social Media ช้อปออนไลน์เพิ่มขึ้นมากแค่ไหน. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://marketeeronline.co/archives/312083.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://planning.dusit.ac.th/main/wp-content/uploads/2023/06/แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 3.pdf.

จเร เถื่อนพวงแก้ว, จำเริญ คังคะศรี, อรพรรณ ถาวรยุศม์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา, และอังศุมาริน สุชัยรัตนโชค. (2565). แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 23-32.

ใจชนก ภาคอัต. (2555). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถาบันสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ติกาหลัง สุขกุล และมนต์ ขอเจริญ. (2560). การสื่อสารภายในการสื่อสารการตลาด และการตลาดเชิงประสบการณ์เพื่อการสื่อสารแบรนด์ และการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรีและมิวเซียมสยาม. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 457–493.

ถิตรัตน์ พิมพ์พาภรณ์ และวีระยุทธ พิมพาภรณ์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อดิจิทัลต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว ในบทบาทของความเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(1), 50-60.

ธนปกรณ์ ตันติวรานุรักษ์ และเฉลิมเกียรติ เฟื่องแก้ว. (2566). การรับรู้คุณค่าตราสินค้าและประสบการณ์การใช้บริการของผู้เข้าพักชาวไทยในโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA Extra Plus จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 6(2), 70-84.

ธีรพล ยั่งยืน. (2562). การใช้ประโยชน์กับความพึงพอใจและพฤติกรรมผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนินนุช เงารังสี. (2558). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจท่องเที่ยวภายใน ประเทศของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาสน์.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ภิญญาพัชญ์ มุณีแก้ว, ณัฐรินทร์ ปริวงศ์กุลธร, สุวารี นามวงศ์, สันติธร ภูริภักดี, และชมพูนุช จิตติถาวร. (2566). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้การจัดการประสบการณ์ของลูกค้าโรงแรม ในเขตพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(5), 13-28.

มาริษา สุจิตวนิช และดวงใจ คงคาหลวง. (2563). แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 5(2), 152-166.

วัลภา สรรเสริญ. (2559). การตลาดออนไลน์: Online Marketing. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุวารินทร์ อินใส และณัฏฐกฤษฏิ์ เอกวรรณัง. (2565). อิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเดินทางไปท่องเที่ยวหมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง จังหวัดสุรินทร์ของผู้มาเยือนชาวไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ, 6(2), 137–150.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างชาติ จังหวัดตาก พ.ศ.2558-2566. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567 จาก https://directory.gdcatalog.go.th/Dataset/Content/43cba9a061334022af6eca34f02da939.

อภิชญา ณัฐพงศ์พฤทธิ์. (2558). รูปแบบการดำเนินชีวิตการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ ความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Chen, C. F., & Chen, F. S. (2010). Experience quality, perceived value, satisfaction and behavioral intentions for heritage tourists. Tourism management, 31(1), 29-35.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2007). Research methods in education. London: Routledge.

Dreamrev. (2021). การตลาดแบบดั่งเดิมกับการตลาดดิจิทัล (Traditional VS digital marketing). สืบค้น 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.dreamrev.info/blog/2017/04/25/traditional-vsdigitalmarketing/

Foxall, G. R., Goldsmith, R. E., & Brown, S. (1998). Consumer psychology for marketing. London: International Thompson Business press.

Green World. (2021). Offline Marketing ทำอย่างไรให้ได้ผลในปี 2021. สืบค้น 22 มีนาคม 2567 จาก https://www.greenworldmedia.co.th/?s=Offline+Marketing+2021.

Guralnik, D. B. (1986). Webster’s New World Dictionary of America Language (2nd ed). New York: Simon and Schuster.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Schmitt, B. H. (1999). Experiential marketing. New Jersey: Free Press.

Schermerhorn J. R. (2005). Management (8th ed). New Jersey: John Wiley & Sons.

Shiffman L. G. & Kanuk L. L. (2007). Consumer Behavior (9th ed). New Jersey: Prantice-Hall.

Shimp, T. A. (2010). Integrated Marketing Communication in Advertising and Promotion (8th ed). London: South-western Cengage Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24