ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
คำสำคัญ:
ความต้องการศึกษาต่อ, ปริญญาโท, ปัจจัยในการตัดสินใจ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สนใจศึกษาต่อ จำนวน 350 คน เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณาวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ ทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ทดสอบค่าที (t – test) และทดสอบค่าเอฟ (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สนใจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นศิษย์ปัจจุบันที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วุฒิที่กำลังจะสำเร็จ/สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3.01 – 3.50 ภูมิลำเนาจังหวัดเลย อาชีพปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนิสิต/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท และส่วนใหญ่มีเหตุผลในการศึกษาต่อคือต้องการได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้น ประเด็นที่ต้องการมุ่งเน้นในการศึกษาต่อด้านการบัญชี ช่วงวันและเวลาในการศึกษาต่อเป็นวันหยุดราชการ วันเสาร์-วันอาทิตย์ (08.30 - 16.30) รูปแบบการเรียนเป็นภาคพิเศษ (วันเสาร์–วันอาทิตย์) และบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจคือตนเอง ในส่วนปัจจัยในการตัดสินใจศึกษา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการประกอบอาชีพ รองลงมาด้านหลักสูตร ด้านสถาบันการศึกษา ด้านปัจจัยพื้นฐานและครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามลำดับ ส่วนผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้สนใจที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผู้สนใจที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบัญชี) โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
กนกวรรณ สุวรรณที และสุนิสา นาคะเต. (2555). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทระหว่างประเทศกับต่างประเทศในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) กรณีศึกษา: นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนินทร์ เลิศประภาภรณ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางการบัญชี. การศึกษาด้วยตัวเองบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชำนาญ ทองเย็น. (2562). ความต้องการศึกษาต่อและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 24 – 39.
ณัฐธิดา ศรีวะอุไร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ณีชญา โหมดเครือ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทของนักศึกษาปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พีระ พันธุ์งาม, ณัฐวัชต์ บุญภาพ, ธัญลักษณ์ ครึ่งธิ, และสุลีมาศ คำมุง. (2559). การตัดสินใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา.วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 2(1),121-127.
พรรณพนัช จันหา และอัจฉริยา ปราบอริพ่าย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิชาการVeridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(1), 291-318.
ภัททิรา เวชพาณิชย์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทางการบัญชีของนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ภาควิชาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วริศรา ดวงตาน้อย. (2556). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาสาขาการบัญชี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศรัณย์วีร์ เอมะศิริ. (2561). การตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
สุวิทย์ เพ็งทิพย์นาง, วาสนา สุวรรณวิจิตร, และอนิวัช แก้วจำนงค์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาบริหารธุรกิจ ของประชาชนในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 53-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน