ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online และคุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด

ผู้แต่ง

  • กรหยก บุญสม หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรทิวา แสงเขียว หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ระบบ e-payment, คุณลักษณะนักบัญชี, ยุคดิจิทัล, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการเงินและบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 193 คน และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบ KTB Corporate Online คือ ด้านทำให้บรรลุผลสำเร็จมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และด้านประโยชน์ที่ได้รับ และพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร ส่งผลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน และด้านขั้นตอนการปฏิบัติงาน ส่งผลเชิงลบต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ คุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัล คือ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาส่งผลเชิงบวกต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และพบว่า ด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา ส่งผลเชิงบวกต่อการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชี ส่งผลเชิงลบต่อการยอมรับการใช้งานระบบ New GFMIS Thai ด้านความง่ายในการใช้งาน และด้านความปลอดภัยในการใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

References

กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. (2565). แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิการเข้าใช้งานในระบบบริหารการเงินการคลัง ภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai). กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง https://www.opm.go.th/opmportal/multimedia/suchanpu/กค0402.2_ว34_ลงวัน_15_มีนาคม_2565(1).pdf

จันทร์วิมล วิชญะธรรมโชติ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ KTB Corporate Online ของเจ้าหน้าที่การเงินในราชการส่วนภูมิภาคจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 27-40.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์. จาก https://www.onde.go.th/

สำนักงานโครงการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์. (2547). โครงการเปลี่ยนระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS). กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง. https://www.gfmis.go.th.

สำนักงานอัยการสูงสุด. (2566). ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานอัยการสูงสุด. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566 จาก https://www.ago.go.th/aboutus.

สุพัตรา หารัญดา. (2565). คุณลักษณะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสำนักงาน บัญชีคุณภาพในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุวิมล ตรีคงธรรมกุล. (2561). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีผ่านสื่อดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ของผู้บริหารในสานักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Stella, B. O. (2014). The Effect of Integrated Financial Management Information System on the Performance of Public Sector Organization. Santa Monica, Calif: Goodyear Publishing Company,

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24