การบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชี ของธุรกิจแร่อุตสาหกรรมในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กาญจนา พันเทียน หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรทิวา แสงเขียว หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ถิรวุฒิ ยังสุข หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบริหารการเงิน, การใช้เทคโนโลยี, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยีและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชีของธุรกิจแร่อุตสาหกรรมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 273 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและด้านทักษะความรู้ของบุคลากรมีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความละเอียดรอบคอบ 2) การบริหารการเงิน ด้านการรับ-จ่ายเงิน และด้านระเบียบบังคับใช้ มีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเสร็จตรงตามระยะเวลา 3) การบริหารการเงิน ด้านการตรวจสอบเอกสารทางการเงินและด้านทักษะความรู้ของบุคลากรมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสามารถตรวจสอบความถูกต้อง 4) การใช้เทคโนโลยี ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ และด้าน Artificial Intelligence มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความละเอียดรอบคอบ 5) การใช้เทคโนโลยี ด้านกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ มีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเสร็จตรงตามระยะเวลา 6) การใช้เทคโนโลยีด้านการเก็บข้อมูลบนคลาวด์และการใช้ Software as a Service และด้าน Artificial Intelligence มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ประโยชน์ของผลการวิจัย เพื่อให้บุคลากรฝ่ายการเงิน ของธุรกิจแร่อุตสาหกรรม ในเขตประเทศไทยและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและงานบัญชี ซึ่งเป็นส่วนช่วยให้ทราบถึงการบริหารการเงิน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และนำไปปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น

References

ดวงพร เจริญวรรธะ. (2550). สภาพปัญหาเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มัทรียา เอี่ยมพินิจ. (2555). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตําบลแพรกษา อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลวิตรา ไชยเดช. (2564). มาตรฐานการตรวจสอบภายในด้านการเงินที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือรายงานทางการเงินของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระบัญชี มหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2540). เทคโนโลยีสารสนเทศ. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สุวพิชญ์ เลิศสหพันธ์. (2563). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน จังหวัดอุดรธานี. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยสันตพล.

อาภาวรรณ สงวนหงส์. (2563). การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชี. การศึกษาอิสระบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-24

How to Cite

พันเทียน ก., แสงเขียว พ., & ยังสุข ถ. (2024). การบริหารการเงินและการใช้เทคโนโลยีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายการเงินและบัญชี ของธุรกิจแร่อุตสาหกรรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(3), 869–884. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3460