ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบันทึกสินทรัพย์ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ผู้แต่ง

  • ธนัชพร อินกองงาม หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรรณทิพย์ อย่างกลั่น หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อมและการกำกับติดตาม ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการบันทึกสินทรัพย์ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ประชากรที่ใช้ศึกษาได้แก่ นักวิชาการเงินและบัญชีระดับชำนาญการพิเศษ ระดับชำนาญการ ระดับปฏิบัติการ ในพื้นที่ 77 จังหวัด และส่วนกลาง ที่ปฏิบัติงานในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสิ้น 270 ราย โดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน ด้านทักษะในการใช้งานระบบ และสมรรถนะในการทำงาน ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของการบันทึกสินทรัพย์ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ด้านความถูกต้อง ด้านความโปร่งใส และ ด้านตรวจสอบได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สภาพแวดล้อมและการกำกับติดตาม ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน การควบคุมและการตรวจสอบ และการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพของการบันทึกสินทรัพย์ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ด้านความถูกต้อง ด้านความโปร่งใส และ ด้านตรวจสอบได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมบัญชีกลาง. (2558). การปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลัง GFMIS. กรุงเทพฯ: สำนักกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์.

ทิพย์ประภา สีชาเหง้าและรัชดา ภักดียิ่ง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานกด้านบัญชี ด้วยระบบ GFMIS ของหน่วยงานศาลในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(1), 88-98.

ธนัชพร เมฆศิรินภาพงศ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบการปฏิบัติงานด้านบัญชีระบบ GFMIS ของสถานศึกษา อาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภิรมย์พร เยาดำ, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และสุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2559). ประสิทธิภาพของระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์(GFMIS) ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับ ด้านบริหารธุรกิจและรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 7, 25 มีนาคม 2559, หน้า 1365-1376. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ โฟรเพซ.

วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ. (2560). รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. ใน เอกสารวิชาการประจำปี พ.ศ. 2559 เรื่องการปฏิรูประบบราชการ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e–Government). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานกำกับและพัฒนาระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์. (2558). คู่มือแนวทางการบริหารความเสี่ยงของการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิเคราะห์ข้อมูลและรายงาน กรมบัญชีกลาง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2561). การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

อินกองงาม ธ. ., & อย่างกลั่น พ. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการบันทึกสินทรัพย์ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ของหน่วยงานในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 31–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3596