ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
คำสำคัญ:
ปัจจัยภายใน, ปัจจัยภายนอก, การตัดสินใจ, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ธุรกิจออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์จำนวน 400 คน โดยที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับปัจจัยภายในที่มีผลต่อการนำส่งแบบแสดงรายงานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์มีระดับการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจนำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ประกอบด้วย จรรยาบรรณความซื่อสัตย์ ความรู้ความเข้าใจทางภาษี พฤติกรรมส่วนบุคคล และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจประกอบด้วย ความคาดหวังจากการชำระภาษี ความยุติธรรมของภาระการเสียภาษี และผลกระทบทางกฎหมาย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมสรรพากร. (2565). ใบทะเบียนพาณิชยรู้สักนิดก่อนจดพาณิชย์. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.rd.go.th/region/04/fileadmin/063_saraburi/HotArticle/2564/082564.pdf
ฉัตราพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประทุมมา ภูริบริบูรณ์ และจารุวรรณ แซ่เต้า. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของบุคคลต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย. วารสารรัชภาคย์, 17(50), 33-47.
ปาณิศา ศรีละมัย และศุภชาติ เอี่ยมรัตนกูล. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ ผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิชาการวิจัย, 7(2), 69-78.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2561). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโรยามาเน และเครจซี-มอร์แกน. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา และจิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์. (2563). หลักการตลาด. นนทบุรี: ธรรมสาร.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
Blackwell, R.D., Miniard, P.W., & Engel, F.J. (2001). Consumer Behavior. Orlando: Harcourt College Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน