ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัย ผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม

ผู้แต่ง

  • สมภพ ขยัน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สามารถ อัยกร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

พฤตินิสัย, ผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติด

บทคัดย่อ

การพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดียาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม จะประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม 2) ศึกษาระดับปัจจัยความต้องการของมนุษย์ของผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยความต้องการของมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม 4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังเด็ดขาดคดียาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม จำนวน 361 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ของผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย ด้านความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยและด้านความต้องการการยอมรับนับถือ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดียาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดียาเสพติด เรือนจำกลางนครพนม ได้ร้อยละ 54.90 ยกเว้นปัจจัยด้านความต้องการความรัก และ 4) แนวทางในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม ได้แก่ ควรมีการปฐมนิเทศหรือโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัวผู้ต้องขังทุกรายที่จะได้รับการปล่อยตัวกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน โดยเน้นการมองเห็นคุณค่าของตนเอง และความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกา ยจิตใจ และสังคมก่อนกลับไปใช้ชีวิตในสังคม ควรมีการกำหนดแผนการจัดอบรมหลักสูตรโดยคำนึงถึงสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ต้องขังเป็นหลักสำคัญ ควรประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญหรือสหวิชาชีพในด้านต่าง ๆ เข้ามาเป็นวิทยากรให้ความรู้หรือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังให้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการ

References

กรมราชฑัณฑ์. (2563). รายงานประจำปี 2563 กรมราชทัณฑ์. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม.

กองพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์. (2561). คู่มือการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังตามลักษณะแห่งคดีและพฤติการณ์การกระทำผิด. นนทบุรี: ส่วนส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาจิตใจ กองพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม.

ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธนภัทร วางอภัย. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยสำหรับผู้ต้องขังที่มีแนวโน้มกระทำผิดซ้ำ ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

นฤมนต์ เผ่าเพ็ง. (2558). ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังของเจ้าพนักงานเรือนจำ. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรือนจำกลางนครพนม. (2563). บรรยายสรุปเรือนจำกลางนครพนม ประจำปี 2563. นครพนม: เรือนจำกลางนครพนม.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมราชทัณฑ์. (2563). สถิติผู้ต้องขังราชทัณฑ์ทั่วประเทศ รท.102 (ก) สำรวจ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2562. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมราชทัณฑ์.

สถิต แก้วปัญญา, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ และไพศาล แน่นอุดร. (2562). แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังคดียาเสพติดเรือนจำกลางอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธาน, 7(1), 79-93.

สุรณรงค์ แจ่มจรัส. (2559). ความคาดหวัง ความต้องการ ของผู้ต้องขังต่อการดำเนินงานของเรือนจำกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(2), 481-512.

สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์. (2557). คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องขัง การจัดการศึกษาผู้ต้องขัง. นนทบุรี: ส่วนส่งเสริมการศึกษา สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์.

สำนักพัฒนาพฤตินิสัย. (2560). คู่มือหลักสูตรการพัฒนาพฤตินิสัย. นนทบุรี: กองพัฒนาพฤตินิสัย สำนักพัฒนาพฤตินิสัย กรมราชทัณฑ์.

อนุชา ร่มพยอม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อัศม์เดช คงขำ. (2561). การพัฒนาพฤตินิสัยผู้กระทำผิดที่ใช้ความรุนแรงเรือนจำพิเศษมีนบุรี. การศึกษาอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Yamane T. (1981). Statistic and Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ขยัน ส., อัยกร ส., & อุดมกิจมงคล ช. (2025). ปัจจัยความต้องการของมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการพัฒนาพฤตินิสัย ผู้ต้องขังเด็ดขาดคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเรือนจำกลางนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 346–361. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3665