ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการชำระภาษีของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee

ผู้แต่ง

  • พัณณิตา มุงเมือง หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • จิรพงษ์ จันทร์งาม หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการชำระภาษี, ผู้ประกอบการ, ความรู้ทางภาษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการชำระภาษีของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพการชำระภาษีของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน 2) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ปัจจัยภายในด้านความรู้ทางภาษีของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการเสียภาษีของผู้ประกอบการ ความครบถ้วนของการเสียภาษี ความตรงเวลาของการชำระภาษี ความถูกต้องของการชำระภาษี และความประหยัดของการชำระภาษี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยภายนอกด้านการได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการเสียภาษีของผู้ประกอบการด้านความตรงเวลาของการชำระภาษี และด้านความประหยัดของการชำระภาษี แต่ปัจจัยภายนอกด้านข้อบังคับของกฎหมายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการเสียภาษีของผู้ประกอบการ ด้านความครบถ้วนของการชำระภาษี ด้านความตรงเวลาของการชำระภาษี

References

ข่าวประชาชาติธุรกิจ. (2567). เปิดธุรกิจแรงไม่หยุด-ฉุดไม่อยู่ ปี 2567 อีคอมเมิร์ซ คาดมูลค่าแตะ 7 แสนล้าน. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-1546218

ธนวัฒน์ ไข่หนู. (2564). ประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ธนสรร ธนาภัคเดชจินดา. (2565). องค์ประกอบการชาระภาษีรวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการยื่นแบบและชาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของภาคใต้ฝั่งอันดามัน. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). “ช้อปปี้” เผย 5 โปรแกรม-ฟีเจอร์ ตอบโจทย์ผู้ใช้งานส่งท้ายปี 2566. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://mgronline.com/business/detail/9660000109170.

พิฐชา เกิดเกตุกาญจน์. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลาในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาริสา ลิ่มศิลา. (2565). ปัจจัยจูงใจและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตสำนักงานสรรพากร ภาค 1. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วิริยะศิตา พิมพ์สุวรรณ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสมัครใจในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้ในเขตภาคตะวันออก. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิริรัตน์ มุขดารา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชาระภาษีเงินได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุภาพ รัตแพทย์. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น ของประชาชน เขตบางนา กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธรกิจมหาบณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยรวมคำแหง

หทัยรัตน์ เหล็กพิมาย, ยุทธนาท บุณยะชัย และพรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา. (2565). ทัศนคติของผู้เสียภาษีที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(1), 402-415.

อนงลักษณ์ โขมะพัฒน์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของผู้ประกอบการในท้องที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ปราจีนบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

มุงเมือง พ., & จันทร์งาม จ. (2025). ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการชำระภาษีของผู้ประกอบการที่ขายสินค้าทางช่องทางออนไลน์บนแฟลตฟอร์ม Shopee. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 87–101. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3666