ประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นและ มูลค่าหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, การประเมินมูลค่าหุ้น, มูลค่าหลักทรัพย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อการประเมินมูลค่าหุ้น และเพื่อศึกษา การประเมินมูลค่าหุ้นที่ส่งผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน THSI ระหว่างปี 2563-2565 ผลการวิเคราะห์ พบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ส่งผลเชิงบวกต่อการประเมินมูลค่าหุ้นที่วัดด้วยอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) ส่วนตัวแปรประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นวัดค่าจากกำไรต่อหุ้น (EPS) คือ อัตรากำไรสุทธิ (NPM) ส่งผลเชิงลบ อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ส่งผลเชิงบวก ประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) ส่งผลต่อการประเมินมูลค่าหุ้นที่วัดค่าจากเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) การประเมินมูลค่าหุ้นประกอบด้วย อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) กำไรต่อหุ้น (EPS) และเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) ส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าหลักทรัพย์โดยวัดค่าจากราคาหลักทรัพย์ (STP) และ การประเมินมูลค่าหุ้นส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าหุ้นวัดค่าจากผลตอบแทนหลักทรัพย์ (STR) โดย อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรต่อหุ้น (P/E Ratio) และเงินปันผลต่อหุ้น (DPS) ส่งผลเชิงบวกต่อมูลค่าหลักทรัพย์ที่วัดด้วย ผลตอบแทนหลักทรัพย์ (STR) กำไรต่อหุ้น (EPS) ส่งผลเชิงลบต่อมูลค่าหลักทรัพย์
References
กนกพร ห้าวเจริญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กัญญารัตน์ กิตติสนธิรักษ์. (2562). อัตราส่วนทางการเงินและการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของกิจการตามราตลาดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร. (2566). ประเมินมูลค่าหุ้น ฉบับนักลงทุน. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/money-series/trading-in-30-days/ep13.
จิราภรณ์ วงศ์สุขเสมอใจ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารและอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อราคาหลักทรัพย์ ของบริษัท ปตท. จากัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เจตรัฐ สหนันท์พร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ ด้วยแบบจำลอง Panel VAR. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์. (2564). วิถีการลงทุนแบบใหม่ ลงทุนในหุ้นยั่งยืน. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/grow-your-wealth/sustainability-investment.html.
วิไลลักษณ์ แสงสุวรรณ. (2564). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมเกียรติ์ ไพโรจน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่าหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สินี ภาคย์อุฬาร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุดของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อนุวัตร รองเงิน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของหลักทรัพย์กรณีศึกษา: บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Banton, C. (2024). Efficiency: What It Means in Economics, the Formula To Measure It. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.investopedia.com/terms/e/efficiency.asp.
Picardo, E. (2024). investing Explained: Types of Investments and How to Get Started. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.investopedia.com/terms/i/investing.asp.
Kane, J. (2567). ผลตอบแทนคืออะไร: คำจำกัดความ สูตร และการคำนวณ. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.litefinance.org/th/blog/for-beginners/what-is-yield/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน