ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย SET 100
คำสำคัญ:
การรายงานความยั่งยืน, การกำกับดูแลกิจการ, ความสามารถในการทำกำไรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการกับความสามารถในการทำกำไร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 มีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 288 บริษัท ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ เพื่ออธิบาย ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการกับความสามารถในการทำกำไร ผลการวิจัย พบว่า การรายงานความยั่งยืนด้านคะแนนด้านสังคม (SCS) ด้านคะแนนด้านธรรมาภิบาล (GVS) และการกำกับดูแลกิจการ ด้านผลประเมิน การกำกับดูแลกิจการที่ดี (CGR) ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตรากำไรสุทธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรายงานความยั่งยืนด้านคะแนนด้านสิ่งแวดล้อม (EVS) และการกำกับดูแลกิจการ ด้านผลประเมิน การกำกับดูแลกิจการที่ดี (CGR) ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรายงานความยั่งยืนด้านคะแนนด้านสังคม (SCS) และการกำกับดูแลกิจการด้านผลประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CGR) ด้านผลประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น (AGM) ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรด้านอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กีรติกา กีรติพงษ์ไพศาล. (2559). กลยุทธ์การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้สูงอายุของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์. รายงานการวิจัย. สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 5 จังหวัดขอนแก่น.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) (ฉบับประกาศราชกจิจานุเบกษา). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น 18 สิงหาคม 2562 จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view.
เบญจพร โมกขะเวส และชาญชัย บัญชาพัฒนศักดา. (2562). ผลของการกํากับดูแลกิจการที่มีผลต่อการดําเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 313-327.
ณัฐวุฒิ ทรัพย์สมบัติ, ก้องภพ แสงทอง, ณัฐนรี ยาสะบู่, ณัฐพล ลัดดี, นิศานนท์ ชูแก้ว และศิวกร พงษ์ศรี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกํากับดูแลกิจการกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน SET100. WMS Journal of Management Walailak University, 9 (4), 1-14.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน. สืบค้น 22 มกราคม 2567 จาก https://www.sec.or.th/TH/Documents/CompanyHandbooksandGuidelines/.
ปรียานุช ลิ้มดำเนิน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หมวดธุรกิจก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ศรายุทธ์ ทัดศรี, ภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ และตรีทิพ บุญแย้ม. (2563). ปัจจัยของการกำกับกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจดนตรีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(1), 145-157.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุชญา ชาญณรงค์กุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อัคคพล อินทรัตน์. (2563). ระดับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ (พิมพครั้งที่ 4). ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Azeez, A. A. (2015). Corporate Governance and Firm Performance: Evidence from Sri Lanka. Journal of Finance and Bank Management, 3(1), 180-189.
Yilmaz, L. (2018). Corporate Governance and Financial Performance Relationship: for Oman Companies. Journal of Accounting, Finance and Auditing Studies, 4(4), 84-106.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน