ความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีและระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร ศิริมา หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ดารณี เอื้อชนะจิต หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ถิรวุฒิ ยังสุข หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจภาษี, ระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต, การยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้, เงินได้บุคคลธรรมดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีที่ส่งผลต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีส่งผลเชิงบวกต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับประเภทเงินได้ ความรู้เกี่ยวกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ความรู้เกี่ยวกับรายการลดหย่อน ด้านการยื่นแบบทันเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพของระบบและบริการ คุณภาพของข้อมูลและความถูกต้อง การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย การรับรู้ประโยชน์ของระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสรุปได้ว่า หากผู้มีเงินได้ที่ถึงเกณฑ์ที่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีเป็นอย่างดี รวมถึงมีการยื่นแบบในระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตจะส่งผลให้การยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมสรรพากร. (2566). ข้อมูลรายงานการรับแบบ ภ.ง.ด.90,91 ปีภาษี 2565 ตามสำนักงานสรรพากรภาค. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566 จาก https://pitintra.rd.go.th/rcv9091_rpt/.

จิรพร ศิริเสถียร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีมีเงินได้ในจังหวัดอ่างทอง. การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ. (2562). หน้าที่ของประชาชนในการชำระภาษีอากร. วารสารการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(2562), 135-141.

นพวรรณ คงสัญ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นแบบและการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนวัฒน์ ไข่หนู. (2564). ประสิทธิภาพของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริรัตน์ มุขดารา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9. การค้นคว้าอิสระการบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2548). การวิจัยการตลาด ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์ อิน บิสซิเนส เวิร์ด.

สมคิด บางโม. (2560). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สุเมธ ศิริคุณโชติ, กำธร สิริชูติวงศ์, อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ และภิรัตน์ เจียรนัย. (2563). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2564. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

วลัยพร แก้วสาร. (2562). ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีศึกษาผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 3. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยบูรพา.

อณัศยาภา บุญรอด. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านบริการพร้อมเพย์ของผู้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทางระบบอินเทอร์เน็ตในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนันธิตรา ดอนบันเทา. (2560). ปัญหาและสาเหตุการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในตำบลลาน ดอกไม้ตก. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 22 ธันวาคม 2560, หน้า 614-620. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อุมาพร พุ่มพวง (2564). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุไรพรรณ์ แซ่ลี้. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของพนักงาน กลุ่มสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ศิริมา เ. ., เอื้อชนะจิต ด., & ยังสุข ถ. (2025). ความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีและระบบการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีเงินได้เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 331–345. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3695