ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์และประสิทธิภาพ การบริหารหนี้สินกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100

ผู้แต่ง

  • กษิดิศ กิจธัญญะสัมพันธ์ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ดารณี เอื้อชนะจิต บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ถิรวุฒิ ยังสุข บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การบริหารสินทรัพย์, การบริหารหนี้สิน, การประเมินมูลค่าหุ้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์และประสิทธิภาพการบริหารหนี้สินกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100 ในระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 จำนวน 100 บริษัท ตัวแปรอิสระ ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ทำการศึกษากับการประเมินมูลค่าหุ้นโดยวัดค่าจากอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน อัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษาพบว่าอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อัตราส่วนสินค้าคงเหลือความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อัตราส่วนสินค้าคงเหลือและอัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่า ทางบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

แก้วมณี อุทิรัมย์ และกนกศักดิ์ สุขวัฒนานินทธ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนที่คาดหมายของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรํพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2556, 24 ธันวาคม 2556, หน้า 827-838. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. สืบค้น 11 กันยายน 2562 จาก https://www.sec.or.th/cgthailand/-TH/Documents/Regulation/CGCode.pdf.

ธีรพงษ์ กรรณิกา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นพดล สังข์ลาย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรธุรกิจกับการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ไพรัลยา วิจิตรประดิษฐ์. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาณุพันธ์ อุดมผล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย:กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มหุ้นสามัญขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2548). ข่าวสารข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในตลาดการเงินไทยในกลไกของตลาดการเงินในระบบเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 16 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.maruey.com/w-book-detail/b00017345.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2560). แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560 – 2564). สืบค้น 16 พฤษภาคม 2567 จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=6598.

สิทธิโชค แซ่ห่าน. (2563). อิทธิพลของการบริหารสินทรัพย์ต่อราคาตลาดของหุ้น: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรทิชา อินทาปัจ. (2559). ปัจจัยที่กำหนดการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อโนทัย ตรีวานิช. (2552). สถิติธุรกิจ พิมพครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

FITRI, R. R., HOSEN, M. N. & MUHARI, S. (2016). Analysis of Factors that Impact Dividend Payout Ratio on Listed Companies at Jakarta Islamic Index. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 6(2), 87-97.

Martani, D., Mulyono, & Khairurizka, R. (2009). The effect of financial ratios firm size and cash flow from operating activities in the interim report to the stock return. Chinese business review, 8(6), 44-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

กิจธัญญะสัมพันธ์ ก. ., เอื้อชนะจิต ด., & ยังสุข ถ. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์และประสิทธิภาพ การบริหารหนี้สินกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET100. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 58–70. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3696