การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีดิจิทัล, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ผู้ทำบัญชีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างมีหน้าที่ทำบัญชีให้กับนิติบุคคล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 395 ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .01 และ .05 ผลจากการศึกษาการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล พบว่าประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ทักษะของผู้ทำบัญชีในองค์กร
และการสนับสนุนจากผู้บริหาร และความสะดวกในการใช้งาน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชี ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ด้านความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะของผู้ทำบัญชีในองค์กร และความสะดวกในการใช้งาน ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบัญชีของผู้ทำบัญชี ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ด้านความเป็นปัจจุบันและทันต่อเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01 ตามลำดับ
References
กิตติคุณ สีทองคำ. (2564). ทัศนคติและผลกระทบของพนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในองค์กร: สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
จักรกฤษณ์ มะโหฬาร, พัทธนันท์ เพชรเชิดช, ศิริเดช คำสุพรหม และเปรมารัช วิลาลัย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวิชาชีพบัญชี. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 36(1), 80-100.
ชลมาศ เทียบคุณ, พัทธนันท์ เพชรเชิดช, ศิริเดช คำสุพรหม และเปรมารัช วิลาลัย. (2562). สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคใต้.การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
โชษิตา คลายศรี. (2563). นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรทางบัญชีขององค์กรและประสิทธิภาพในงานบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์ และนาถนภา นิลนิยม. (2566). ความสามารถทางระบบบัญชีดิจิทัลกับผลการดำเนินงาน : หลักฐานเชิงประจักษ์ของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(1), 146-164.
วนิดา เจริญแก้ว. (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีในมุมมองของผู้ประกอบการบริษัทต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abdelraheem, A. A. & Hussaien, A. (2021). Impact of strategic managerial light of accounting techniques on the competitive advantage of Sudanese exports in globalization. International Journal of Advanced and Applied Sciences, 8(2), 64-69.
Azman, N. A., Mohamed, A., & Jamil, A. M. (2021). Artificial Intelligence in Automated Bookkeeping:
A Value-added Function for small and Medium Enterprises. International Journal on Informatics Visualization, 5(3), 224-230.
Gulin, D., Hladika, M., & Valent, I. (2019). Digitalization and the Challenges for the Accounting Profession. 2019 ENTRENOVA Conference Proceedings, 12-14, September 2019, pp. 502-511. Rovinj: Croatia.
Gonçalves, M. J. A., da Silva, A. C. F., & Ferreira, C. G. (2022). The Future of Accounting: How Will Digital Transformation Impact the Sector? Informatics, 9(19), 1-17.
Hafnawi, B. (2021). Regulating Digital Transformation: Technologies, Scenarios, and Contracts. In Innovative and agile Contracting for Digital Transformation and Industry 4.0. New York: IGI Global.
Jackson, D., Richardson, J., Michelson, G., & Munir, R. (2022). Perceptions and experiences of career success mong aspiring and early career accountants and the role of organizational support. Accounting & inance, 63(1), 229-245.
Panasyuk, V., Melnych, l., & Muzhevych, N. (2022). Accounting digital transformation in the term of the force
majeure circumstances. Galician economic journal, 78-79(5-6), 51-57.
Tran, N. H. (2023). Factors impacting strategic management accounting adoption: Empirical evidence from an emerging market. International Journal of Innovative Research and Scientific Studies, 6(3), 710-717.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน