การเพิกถอนหมายจับ: การเปรียบเทียบวิเคราะห์ในกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมนี
คำสำคัญ:
การเพิกถอน, หมายจับ, สิทธิและเสรีภาพบทคัดย่อ
หมายจับนั้นถือได้ว่าเป็นหมายอาญาประเภทหนึ่ง และเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่ ของรัฐ เพื่อให้ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งการจับนั้นเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญนั้นห้ามมิให้กระทำ เว้นแต่การจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ซึ่งหมายจับก็ได้มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นการออกหมายจับต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม อาจมีกรณีที่มีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องหรือเหตุประการอื่นในขั้นตอนการพิจารณาออกหมายจับ ดังนั้น จึงควรมีหลักเกณฑ์การเพิกถอนหมายจับที่ได้ออกโดยไม่ถูกต้อง บทความเรื่องหลักเกณฑ์การเพิกถอนหมายจับนี้จะศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเพิกถอนหมายจับของประเทศไทย ที่มิได้มีการบัญญัติถึงหลักเกณฑ์การเพิกถอนหมายจับไว้ในบทกฎหมายอย่างชัดเจน ซึ่งบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการเพิกถอนหมายจับนั้นจะมีบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 59 วรรคท้าย มาตรา 68 และ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคําสั่งหรือ หมายอาญา พ.ศ. 2548 ข้อที่ 24 ซึ่งบทบัญญัติที่กล่าวมานี้ มิได้บัญญัติหลักเกณฑ์การเพิกถอนหมายจับไว้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนหมายจับ โดยมีการเปรียบเทียบกับกฎหมายในต่างประเทศ คือ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีการใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ อันเป็นการใช้ระบบกฎหมายเหมือนกับประเทศไทย และบทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาผลกระทบอันเกิดจากการใช้อำนาจของศาลในการเพิกถอนหมายจับ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยการบัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการเพิกถอนหมายจับลงในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2553). คำอธิบาย หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วย การดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา. กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.
คณิต ณ นคร. (2564). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จักรพงษ์ วิวัฒน์วานิช. (2563). กลยุทธ์ศึกษาและคู่มือปฏิบัติงาน ในการออกหมายเรียก หมายอาญา การจับการควบคุม การขัง การจำคุก การค้น การปล่อยชั่วคราว. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จุลสิงห์ วสันตสิงห์. (2559). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 1 (มาตรา 1 - มาตรา119) พร้อมตัวอย่างคำถาม – คำตอบ. กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา.
ไทยโพสต์. (2567). ศาลถอนหมายจับ “สนธิญา” คดีหมิ่น “เสรีพิศุทธ์”. สืบค้น 30 เมษายน 2567 จาก https://www.thaipost.net/x-cite-news/576929/.
นิษฐนาถ บุลสถาพร, ขนิษฐา สุขสัวสดิ์, สุรพล สินธุนาวา และวาชิต รัตนเพียร. (2565). อำนาจศาลในการออกหมายจับและเพิกถอนหมายจับในคดีอาญา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 7(1), 218-227.
มานิตย์ จุมปา. (2565). คู่มือการศึกษา เนติบัณฑิต สมัย 75 ปีการศศึกษา 2566 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา. สืบค้น 20 เมษายน 2566 จาก https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/3_%20Kong_
Borikan/thabian_naksueksa/manualstud762566.pgf.
วิวัธน ทองลงยา. (2558). หลักนิติธรรมกับประชาธิปไตย (รายงานหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 3 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
สมชัย ฑีฆาอุตมากร. (2566). สัมมนากฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา 1. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และกษมา เดชรักษา. (2547). รายงานการวิจัยพัฒนากฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่สอดคล้องกับ หลักสิทธิพื้นฐานและพันธะกรณีระหว่างประเทศรวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรชัย ศรีสารคาม. (2557). บทความเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน (รายงานหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 2 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ). กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
BBC NEWS ไทย. (2566). รังสิมันต์ โรม vs อุปกิต ปาจรียางกูร : เปิด จม. ตร. ลำดับเวลา ศาลออก-ถอน หมายจับ ส.ว.. สืบค้น 15 เมษายน 2566 จาก https://www.bbc.com/thai/articles/cpe738qxvq8o.
Glaser, A. H. (2561). การขังในระหว่างการสืบสวนสอบสวนและหลักเกณฑ์การร้องขอในเรื่องดังกล่าวในนิติรัฐภาพกว้างของบทกฎหมายในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน. ดุลพาห, 65(1), 109-130.
Thai PBS. (2567). ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง "ยิ่งลักษณ์" คดีจัดโรดโชว์ 240 ล้าน – ถอนหมายจับ. สืบค้น 17 เมษายน 2567 จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/337675.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน