ผลกระทบของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน และการได้รับคัดเลือกโดยองค์กรชั้นนำ ที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน, ผลการดำเนินงานด้านการเงิน, การได้รับคัดเลือกโดยองค์กรชั้นนำ, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน และการได้รับคัดเลือกโดยองค์กรชั้นนำที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านการเงิน ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินที่มีข้อมูลครบถ้วน จำนวน 81 บริษัท รวม 243 กลุ่มตัวอย่าง ช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ได้แก่ ผลประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และผลประเมินการดำเนินงานด้านสังคม ส่งผลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่ออัตราส่วนกำไรสุทธิและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม ในขณะที่พบว่า การได้รับคัดเลือกโดยองค์กรชั้นนำ ส่งผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การได้รับการจัดอันดับใน ESG100 การได้รับคัดเลือกให้มีรายชื่ออยู่ใน Thailand sustainability index และการได้รับคัดเลือกให้มีรายชื่ออยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ โดยผลกระทบของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ได้แก่ ประเมินการดำเนินงานด้านบรรษัทภิบาล และการได้รับคัดเลือกโดยองค์กรชั้นนำ ได้แก่ การได้รับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนนั้นไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานด้านการเงิน
References
กาญจน์กมล พรมเหลา. (2564). แนวคิด ESG คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักลงทุนในปัจจุบัน. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.tris.co.th/esg/.
กฤษฎา เสกตระกูล. (2556). การวิเคราะห์งบการเงิน. ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ณัฐวุฒิ ทรัพย์สมบัติ, ก้องภพ แสงทอง, ณัฐนรี ยาสะบู่, ณัฐพล ลัดดี. นิศานนท์ ชูแก้ว และศิวกร พงษ์ศร. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกํากับดูแลกิจการกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน SET100. WMS Journal of Management Walailak University, 9(4), 1-14.
ปรียานุช ลิ้มดำเนิน. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธรกิจ วัสดุก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วรางคณา ภัทรเสน. (2562). บริษัทจดทะเบียนไทยกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.setsustainability.com/download/ukxftdz7eqplm1g.
วิไลพร ทวีลาภพันทอง. (2563). ทำความรู้จักกระแส “ธนาคารดิจิทัล” ในเอเชีย. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?id=UjlBZlgwUUZLQjg9.
ศรายุทธ์ ทัดศรี, ภาวัต อุปถัมภ์เชื้อ และตรีทิพ บุญแย้ม. (2563). ปัจจัยของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานของ ธุรกิจตนตรีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(1), 145-157.
สถาบันไทยพัฒน์. (2562). ไทยพัฒน์ ชี้แนวทางซีเอสอาร์ ปี 62 องค์กรต้องขับเคลื่อน คุณค่าและผลกระทบ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567 จาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000020103.
สายทิตย์ ยะฟู. (2560). การวิจัยการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุชญา ชาญณรงค์กุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อุทัยวรรณ เพชรา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชี มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อัคคพล อินทรัตน์. (2563). ระดับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Azeez, A. A. (2015). Corporate Governance and Firm Performance: Evidence from Sri Lanka. Journal of Finance and Bank Management, 3(1), 180-189.
Christensen, L. B., Johnson, R. B., & Turner, L. A. (2021). Research Methods, Design, and Analysis (13th ed.). Pearson International Publishing.
Escrig-Olmedo, E. et al. (2019). Rating the Raters: Evaluating how ESG Rating Agencies Integrate Sustainability Principles. Sustainability, 11(3), 915.
Megasanti, L. C. & Riwayati, H. E. (2023). The Effect of Liquidity, Profitability, And Solvency on Financial Distress with Good Corporate Governance As A Moderation. International Journal of Economic Studies and Management, 3(1), 397-408.
Yilmaz, I., & Acar, G. (2018). The Effects of Intellectual Capital on Financial Performance and Market
Value: Evidence from Turkey. Eurasian Journal of Business and Economics, 11(21), 117-133.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน