ความสัมพันธ์ของการกำกับดูแลกิจการและการบริหารสินเชื่อที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
การกำกับดูแลกิจการ, การบริหารสินเชื่อ, ความสามารถในการทำกำไร, ธุรกิจธนาคารบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและการบริหารสินเชื่อที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2566 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษารวมทั้งสิ้น 60 ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและการบริหารสินเชื่อที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า การกำกับดูแลกิจการด้านขนาดของคณะกรรมการบริษัท (BSIZE) ส่งผลทางบวกต่ออัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CI) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ (IND) ส่งผลทางบวกต่ออัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CI) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการควบรวมตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร (DUAL) ส่งผลทางบวกต่ออัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CI) และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการ (CGR) ส่งผลทางบวกต่อ อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM)และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพส่งผลทางลบต่อความสามารถในการทำไรที่วัดด้วยอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (NIM) อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CI) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชนัตถา พานิชลือชาชัย. (2558). ปัจจัยด้านสินเชื่อที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณัฐวุฒิ ทรัพย์สมบัติ, ก้องภพ แสงทอง, ณัฐพร ยาสบู่, ณัฐพล ลัดดี, นิศานนท์ ชูแก้ว และศิวกร พงษ์ศรี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับมูลค่าของกิจการของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน SET 100. WMS Journal of Management, 9(4), 1-14.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน 2560. สืบค้น 19 ธันวาคม 2567 จาก https://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Documents/Regulation/CGCode.pdf
ทิพย์ธัญญา หริณานนท์. (2560). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อการจัดการกำไรและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). ถอดบทเรียนวิกฤตต้มยำกุ้ง. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.bot.or.th/th/our-roles/special-measures/Tom-Yum-Kung-lesson.html.
นิพิฐพนธ์ ฤกษ์เอี่ยมขจร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับดัชนีราคาหลักทรัพย์และเงินปันผล บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิกานดา ใจสมุทร. (2558). อิทธิพลของปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิวัช จันทรโชติ. (2559). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์กรณีศึกษา: กลุ่มเกษตรและ อุตสาหกรรมอาหาร ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อารียา ศรีธรรมนิตย์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อัคคพล อินทรัตน์. (2563). ระดับการเปิดเผยข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน