การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนด้วยกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ธีรนันท์ ขันตี สาขาวิชาสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์, การรู้เท่าทันสื่อ, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์และถอดบทเรียนการจัดกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ 2) เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมายสองกลุ่ม ได้แก่ 1) เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนบ้านนาบอน ตำบล นาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 50 คน 2) นักศึกษาแกนนำมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ที่จัดกระบวนการ จำนวน 20 คน จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย (1) ความรู้ความเข้าใจของแกนนำ (2) การมีจิตอาสา (3) การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่กำลังศึกษา (4) การอบรมแกนนำก่อนทำกิจกรรมในพื้นที่ (5) การมีระบบพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา (6) การวางแผนงาน 2) ปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย (1) ชุมชนให้ความร่วมมือและมีความเข้มแข็ง (2) กลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือร้น (3) มีหน่วยงานภาคีเครือข่ายสนับสนุน (4) มีสถาบันการศึกษาให้การสนับสนุน สำหรับบทเรียนการจัดกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ พบบทเรียนที่สำคัญ ดังนี้ 1) เกิดเครื่องมือหรือกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อจัดกระบวนการการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชน 2) เกิดการพัฒนาทักษะการทำงานของเด็กและเยาวชน 3) เกิดการพัฒนาทักษะและความรู้การรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชน 4) เกิดทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ

References

กาญจนา แก้วเทพ, กำจร หลุยยะพงศ์, รุจิรา สุภาษา และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา, การดา ร่วมพุ่ม และมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2562). สื่อแวดล้อมนิเวศสื่อที่ดีเพื่อส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2566). ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารห้องสมุดสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 67(1), 21-39.

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์. (2565). กระบวนการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาบนฐานทุนของชุมชน. วารสารการสร้างเสริมสุขภาพไทย, 1(2), 211-217.

ลักษมี คงลาภ, อัปสร เสถียรทิพย์, สรานนท์ อินทนนท์ และพลินี เสริมสินสิริ. (2561). การจัดทำ Fact sheet “ความฉลาดทางดิจิตอล” (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

วชิรา สุวรรณวงศ์ และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2566). แนวทางการพัฒนากิจกรรมรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์สำหรับGeneration Z ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม. วารสาร Media and Communication Inquiry, 5(3), 1-27.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนและเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. (2559). กรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย. ในเอกสารประกอบการประชุมโต๊ะกลม การพัฒนากรอบแนวคิดและหลักสูตร การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และ ดิจิทัล เพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 22 มิถุนายน 2559 โรงแรมแมนดาริน. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชนและเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองประชาธิปไตย.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2563). เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน MIDL for Inclusive Cities. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2551). รายงานผลการศึกษากระบวนการเรียนรู้สู่การเท่าทันสื่อ: บทสำรวจสถานภาพและก้าวต่อไป. โครงการสำรวจและสังเคราะห์สถานภาพของการเรียนรู้เรื่องสื่อเพื่อการรู้เท่าทันสังคมสถาบันการจัดการแบบองค์รวม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

อังคณา พรมรักษา. (2561). รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).

Von Bertalanffy, L. (1968). General system theory: Foundations, development, applications. New York: George Braziller.

Christ, W. G., & De Abreu, B. S. (2020). Media literacy in a disruptive media environment. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

ขันตี ธ. . (2025). การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนด้วยกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ . วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 238–253. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3773