การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สกุลไทย ป้อมมะรัง สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงกลยุทธ์, โครงการยุทธศาสตร์, ประสิทธิผล, เศรษฐกิจฐานราก, ความยั่งยืนชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลต่อการดำเนินงานของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยวิธี SWOT Analysis 2) การกำหนดกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค TOWS Matrix 3) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และ 4) การควบคุมและการประเมินผล ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดําเนินงาน กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย การจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็งในตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ได้นำการจัดการเชิงกลยุทธ์ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์การ ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีการสำรวจความต้องการและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือลายอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น ในการยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น ส่วนการนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยใช้วงจรการจัดการเชิงคุณภาพ (PDCA) เพื่อปรับปรุงโครงการตามความเหมาะสม และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับตัวและรับมือกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการและผู้นำกลุ่มได้มีแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมร่วมกัน ในการมุ่งเป้าเพื่อความสำเร็จของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและยั่งยืน โดยการได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐในระยะยาวไม่น้อยกว่า 3 ปี

References

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2556). ทฤษฎีองค์การ มุมมองต่างกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: ดี.เค. ปริ้นติ้ง เวิลด์.

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ท้อป.

สุดใจ ดิลกทรรศนนท์. (2562). STRATEGIC MANAGEMENT การจัดการเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สามลดา.

Byars, L. L. & Rue, L. W. (2000). Human Resource Management (6th ed). New York: McGraw-Hill. Webster University.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M., & Donnelly, J. H. (2000). Organization: Behavior, Structure Process (10th ed). New York: McGraw-Hill.

Pearce, J. A. & Robison, R. B. (2009). Strategic management: formulation, implementation, and control (11th ed). Boston: McGraw Hill Irwin.

Thompson, A. A. & Strickland, A. J. (1999). Strategic Management: Concepts and Cases (11th ed). Chicago: Irwin/ McGraw-Hill.

Wheelen. T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-22

How to Cite

ป้อมมะรัง ส. (2024). การจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสู่ความยั่งยืนของชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านนากระเซ็ง ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 4(4), 1657–1672. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3781