การสร้างภาวะผู้นำยุคใหม่สำหรับการพัฒนารัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21: กลยุทธ์การปรับตัวและความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สายป่าน จักษุจินดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • พิศณี พรหมเทพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ชาญชัย ศุภวิจิตรพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ประภัสสร ดาวะเศรษฐ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ดวงฤดี อิ่มบุญสุ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, รัฐวิสาหกิจ, คนศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเมืองและสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลาย ๆ ภาคส่วนรวมถึงองค์กรรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตามความสำเร็จหรือความล้มเหลวของรัฐวิสาหกิจ ถูกขับเคลื่อนโดยผู้นำ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการบริหารองค์การให้บรรลุตามเป้าหมายและพันธกิจที่ตั้งไว้ ดังนั้นเพื่อความก้าวหน้าของรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 ผู้นำจำเป็นต้องพัฒนาและเปลี่ยนตนเองหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้บทความวิชาการนี้จึงได้มุ่งเน้นถึงคุณลักษณะของผู้นำ ภาวะผู้นำ และบทบาทหน้าที่ของผู้นำในการบริหารรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21 ซึ่งลักษณะของผู้นำในการบริหารรัฐวิสาหกิจประกอบไปด้วย ความรู้ สติปัญญาและความคิด ความสามารถในการสื่อสาร จริยธรรมและคุณธรรม พร้อมกับภาวะผู้นำแห่ง การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว ภาวะผู้นำทางด้านพันธมิตร ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบดุลยภาพ ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ ในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับประเทศ การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร การจัดการความยากจนและความเสมอภาค เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนและความก้าวหน้าในรัฐวิสาหกิจและปรับตัวในทันต่อสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในศตวรรษที่ 21 ในการนี้สามารถนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปใช้ในการวิจัยและนำไปใช้กับบริบทของผู้นำได้

Author Biography

สายป่าน จักษุจินดา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ด้าน รัฐประศาสนศาสตร์

References

เกตศิรินทร์ กาญจนกังวาฬกุล และวิเชศ คำบุญรัตน์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(3), 117-132.

จิตรประภา แสงบู่วัฒนา. (2558). แบบจำลองเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการจัดการความรู้ที่อิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร กรณีศึกษา อุตสาหกรรมรถโดยสารไม่ประจำทาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี.

ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์, พิศมัย จารุจิตติพันธ์ และพิสิฐ โอ่งเจริญ. (2563) ภาวะผู้นำและบทบาทของผู้บริหารในองค์กรรัฐในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(1), 28-39.

ปกิตน์ สันตินิยม. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรภายใต้ยุคการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2(2), 10-19.

นฤมล จิตรเอื้อ, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวนิ และนลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 10(2), 1738-1754.

ผกากาญจน์ ปฐมาญาดา. (2565). แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ภาครัฐ. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 10(1), 1-14.

พระมหายุทธพิชาญ โยธสาสโน, พระครูเกษมอาจารสุนทร, พระครูสุธรรมกิจโกศล และพรพิมล โพธิ์ชัยหล้า. (2566). ผู้นำและภาวะผู้นำที่พึงประสงค์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 10(1), 153-168.

มุกดา ลอยนภา, ช่อเพชร เบ้าเงิน และอรสา จรูญธรรม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการบริหารสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคกลาง. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(1), 190-202.

สุทธิพงษ์ เกียรติวิชญ์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงประสาทวิทยา : การประยุกต์ใช้ประสาทวิทยาศาสตร์กับภาวะผู้นำและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

เสกสรรค์ สนวา, ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และวิไลลักษณ์ ขาวสะอาด. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์กรภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 399-411.

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. (2566). การจัดการทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: บริบทความท้าทายในองค์การภาครัฐ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(1), 105-127.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

Bennis, W. (2003). On becoming a leader: The Leadership Classic. New York: Basic Books.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Drucker, P. F. (1993). The practice of management. Harper Collins.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence. New York: Bantam Books.

Heracleous, L. & Wirtz, J. (2009). Strategic management at Singapore Airlines: Achieving sustainable advantage through dual strategy. Journal of Air Transport Management, 15(2009), 274-279. doi:10.1016/j.jairtraman.2008.11.011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

จักษุจินดา ส., พรหมเทพ พ., ศุภวิจิตรพันธุ์ ช., ดาวะเศรษฐ์ ป., & อิ่มบุญสุ ด. (2025). การสร้างภาวะผู้นำยุคใหม่สำหรับการพัฒนารัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21: กลยุทธ์การปรับตัวและความสำเร็จอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(1), 186–196. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/3949