การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

ผู้แต่ง

  • จิราพร บุญธรรม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก
  • ฐิติพัฒน์ หิรัญนิธิธำรง หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก
  • สมชัย พุทธา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล, งานงบประมาณ, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับงบประมาณของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 แห่ง ผู้วิจัยได้กำหนดผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สถานศึกษา ละ 6 คน เท่ากัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 378 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของตัวแปรด้านการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร เท่ากับ .96 และตัวแปรด้านงานงบประมาณของสถานศึกษา เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านหลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใสด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักคุณธรรม และด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ 2) งานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การวางแผนงบประมาณ การบริหารบัญชี การรายงานผลการดำเนินงาน และการบริหารสินทรัพย์ ตามลำดับ และ 3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับงานงบประมาณของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ขนิษฐา ยศเมฆ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงบประมาณทางการศึกษากับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชุติมา พวงทอง. (2563). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชสบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ.

ดรัณภพ เย็นวัฒนา. (2562). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พยุงศักดิ์ ภักดีพล. (2565). การพัฒนาการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 14(2), 139-154.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2555). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารตามราชกิจจานุเบกษา. สำนักคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ศิริพงษ์ มีสุวรรณ. (2566). ธรรมาภิบาลและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมการปกครอง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. สมุทรปราการ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.

สุวภัทร ใสวรรณ์. (2556). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานการเงินและงบประมาณของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 39. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรรักษ์ ขจรศักดิ์ศรี, สังวาร วังแจ่ม, ศิริพงษ์ มาณะศรี และจรูญ ยอดอุโมงค์. (2567). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสหวิทยาเขตดอยช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแม่ฮ่องสอน. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 9(1), 1575-1585.

แสงเทียน จิตรโชติ. (2560). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาสในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อุบลวรรณ ประจง. (2566). การศึกษาบทบาทการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อุษารัตน์ ดาวลอย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อำนาจ ธีระวนิช. (2553). การจัดการยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มาเธอร์ บอส แพคเก็จจิ้ง.

Agere, S. (2000). Promoting Good Governance: Principles, Practices and Perspectives. London: Commonwealth Secretariat.

Best, J. W. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan. D. W. (1970). Determining Size for Research Activities. Education Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-13

How to Cite

บุญธรรม จ., หิรัญนิธิธำรง ฐ., & พุทธา ส. (2025). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับงานงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(2), 771–781. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/4089