รูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษา, การประกันคุณภาพการศึกษา, คู่มือ, เกณฑ์ AUN-QAบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) พัฒนาคู่มือของรูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 3) ทดลองใช้คู่มือของรูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประชากรเป็นบุคลากรสังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 98 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยเป็นผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร และเจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพหลักสูตร สังกัดคณะครุศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 53 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบและคู่มือของรูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบและคู่มือของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามคู่มือของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การวางแผน (Plan) ที่มีกิจกรรมการกำหนดนโยบายและการมอบหมายความรับผิดชอบ ส่วนที่ 2 การดำเนินงาน (Do) ที่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ กำหนดหลักฐานอ้างอิง และการจัดอบรมการเขียน SAR ส่วนที่ 3 การตรวจสอบ (Check) โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบตรวจสอบ SAR ก่อนส่งให้กรรมการประเมิน และ ส่วนที่ 4 การปรับปรุง (Act) จัดอบรมการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรและกำหนดผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องเข้ารับการอบรม โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการพัฒนาคู่มือของรูปแบบ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 รายละเอียดของรูปแบบ ส่วนที่ 2 คำอธิบายเกณฑ์และวิธีการเขียน SAR Criterion 1 - Criterion 8 พร้อมตัวอย่าง ส่วนที่ 3 แนวทางการตรวจประเมินหลักสูตร ตัวอย่างรายงาน Desktop Assessments และ Feedback Report และส่วนที่ 4 ตัวอย่างการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตร และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคู่มือของรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการทดลองใช้คู่มือของรูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยรวมกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัญคดา อนุวงศ์, อาจรี ศุภสุธีกุล, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล, นิธินาถ ศุภกาญจน์, ปิ่นปินัทธ์ ดำนุ้ย และประพฤทธิ์ สวัสดิ์วิภาชัย. (2565). ความเข้าใจของผู้ประเมินคุณภาพภายในต่อสาระของเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตร. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14(28), 28–35.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา. สืบค้น 1 มีนาคม 2568 จาก https://quality.sc.mahidol.ac.th/tqf/.
งานประกันคุณภาพการศึกษา. (2568). คู่มือการปฏิบัติงาน แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา AUN-QA Version 4.0 คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สืบค้น 1 มีนาคม 2568 จาก https://www.kbs.kmitl.ac.th/wp-content.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39–46.
ณัฐปาลิน นิลเป็ง. (2560). ผู้นําการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 16-29.
ธนวัฒน์ กองแก้ว และนิคม นาคอ้าย. (2565). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 322–333.
ธีรศักดิ์ สารสมัคร, ไพรวัลย์ โคตรรตะ และชวนคิด มะเสนะ. (2563). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. ในการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Research to Make A CHANGE)” (หน้า 348–358). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(2), 68-78.
ธีระพงษ์ เลิศทิฐิวงศ์, วรปภา อารีราษฎร์ และธรัช อารีราษฎร์. (2567). ผลการทดลองใช้คู่มือกลไกการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายสินค้าสำหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 18(3), 220-235.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(1), 176–187.
บรรณกร แซ่ลิ่ม. (2567). แนวทางการพัฒนาคุณภาพระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 43(1). 84-96.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565, 9 กันยายน). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา. 139(ตอนพิเศษ 212 ง), 35–36.
พงศธร สรภูมิ และสุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2565). การประยุกต์ใช้วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดใหม่เนิน. รายงานการประชุม Graduate School Conference, 4(1), 1409-1416.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วรปภา อารีราษฎร์. (2556). การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
อวยพร เรืองศรี. (2567). การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายใน ตามเกณฑ์ AUN-QA ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. Science, Technology, and Social Sciences Procedia, 2024(2), NCR2R23.
ASEAN University Network Quality Assurance. (2020). The guide to AUN-QA assessment at programme level version 4.0. ASEAN University Network.
Best, J. W., & Khan, J. V. (1998). Research in education (8th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน