นโยบายและกฎหมายในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกรานในประเทศไทย: กรณีศึกษาลิงเขียวแอฟริกา (Chlorocebus sabaeus)

ผู้แต่ง

  • อดิศร แผ่ไพลิน นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชามานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วรวิทย์ บุญไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชามานุษยวิทยา ห้องปฏิบัติการทางมานุษยวิทยากายภาพและชาติพันธุ์วิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.12

คำสำคัญ:

ลิงเขียวแอฟริกา, สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่น, มาตรการทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

ลิงเขียวแอฟริกา (Chlorocebus sabaeus) เป็นไพรเมทชนิดพันธุ์ท้องถิ่นของทวีปแอฟริกา แต่มีรายงานการหลุดรอดและกลายเป็นชนิดพันธุ์ท้องถิ่นในอีก 2 กลุ่มพื้นที่ของโลก คือบริเวณกลุ่มประเทศหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลิงเขียวแอฟริกาในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่นได้ตั้งถิ่นฐานและปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศของกลุ่มพื้นที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี จนทำให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นในพื้นที่นั้นเป็นอย่างมาก

จากการศึกษาพบว่ามีลิงเขียวแอฟริกาอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าปิดล้อมบนผืนที่ดินเชิงพาณิชย์ของเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยฝูงลิงเขียวได้ปรับตัวและอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานาน จากการประเมินของผู้เขียนพบว่าลิงเขียวแอฟริกาฝูงนี้เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แต่เป็นประเภทที่ไม่รุกรานแบบในกรณีของต่างประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากกรณีศึกษาในต่างประเทศ ประเทศไทยควรมีการวางแนวทางการจัดการลิงเขียวแอฟริกาไว้ก่อนตามหลักการป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อจะได้ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ผู้เขียนเสนอแนวทางการจัดการลิงเขียวแอฟริกาในประเทศไทย โดยพิจารณาทั้งจากสวัสดิภาพของสัตว์ป่า ปัจจัยเชิงสังคมวิทยานิเวศวัฒนธรรมอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างลิงเขียวแอฟริกากับมนุษย์ในพื้นที่ และจากการคำนึงถึงการป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้นอันจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติดังนี้ 1) ด้านนโยบาย โดยผู้เขียนเสนอให้มีการรับรองชนิดพันธุ์ของลิงเขียวแอฟริกาในฐานะที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่องมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เพื่อให้เกิดการรับรู้สถานะทางกฎหมายของลิงเขียวอันจะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการวางแนวทางการจัดการประเมินสถานะของลิงเขียว และ 2) ด้านกฎหมาย โดยกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นนั้นกระจัดกระจายไปตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ จึงเสนอให้ต้องมีการตรากฎหมายกลางที่ใช้ในการจัดการปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ เพื่อสามารถนำมาตรการทางกฎหมายนั้นมาใช้ในการดำเนินการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายสิ่งแวดล้อมเปรียบเทียบ, (กรุงเทพมหานคร: โครงการตําราและหนังสือเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565 ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 235 ง (2565).

พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 132 (2558).

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 136 (2562).

สำนักนโยบายและแผนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่อง มาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น, (กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561).

สุรศักดิ์ ใจกล้า, มาตรการทางกฎหมายในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563).

อำนาจ วงศ์บัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดล้อม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2557).

A. M. Boulton, J. A. Horrocks and Jean Baulu, The Barbados Vervet Monkey (Cercopithecus aethiops sabaeus): Changes in Population Size and Crop Damage, International Journal of Primatology, Volume 17 Issue 5 (October 1996).

Amy Hartman and others, SARS-CoV-2 Infection of African Green Monkeys Results in Mild Respiratory Disease Discernible by PET/CT Imaging and Shedding of Infectious Virus from Both Respiratory and Gastrointestinal Tracts, PLoS Pathogens, Volume 16 Issue 9 (September 2020).

CBD, The Conservation on Biological Diversity [Online], 1 January 2023. Source: http://www.cbd.int/doc/legal/cbd-en.pdf%0A%0A

Courtney Woolsey and others, Establishment of an African Green Monkey Model for COVID-19 [Online], 14 February 2023. Source: https://doi.org/10.1101/2020.05.17.100289

Deborah Williams, An Introduced Primate Species, Chlorocebus sabaeus, in Dania Beach, Florida: Investigating Origins, Demographics, and Anthropogenic Implications of an Established Population, (Ph.D. Dissertation, Department of Biological Sciences, Florida Atlantic University, 2019).

F. E. Poirier, The St. Kitts Green Monkey (Cercopithecus aethiops sabaeus): Ecology, Population Dynamics, and Selected Behavioral Traits, Folia Primatologica, Volume 17 Issue 1-2 (December 1972).

Gérard Galat and Anh Galat-Luong, Chlorocebus sabaeus in Mammals of Africa (Vol. II: Primates), Edited by Thomas Butynski , Jonathan Kingdon and Jan Kalina, (London: Bloomsbury Publishing, 2013).

Justin Springer, Best Practices in Green Monkey Deterrence: A Manual for Farmers in Barbados, (Barbados, The Ministry of Environment and National Beautification, 2020).

Kerry Dore, An Anthropological Investigation of the Dynamic Humanvervet Monkey (Chlorocebus aethiops sabaeus) Interface in St. Kitts, West Indies, (Ph.D. Dissertation, Department of Anthropology, University of Wisconsin-Milwaukee, 2013).

Laura Meyerson and Jamie Reaser, Bioinvasions, Bioterrorism, and Biosecurity, Frontiers in Ecology and the Environment, Volume Issue 6 (August 2003).

Michael Lo and others, Remdesivir (GS-5734) Protects African Green Monkeys from Nipah Virus Challenge, Science Translational Medicine, Volume 11 Issue 494 (May 2019).

Michael McGuire, The History of the St. Kitts Vervet, Caribbean Quarterly, Volume 20 Issue 2 (1974).

Michael Muehlenbein and others, Travel Medicine Meets Conservation Medicine in St. Kitts: Disinhibition, Cognitive-Affective Inconsistency, and Disease Risk among Vacationers around Green Monkeys (Chlorocebus sabaeus), American Journal of Primatology, Volume 84 Issue 4-5 (May 2022).

S. L. Motzel and others, Diagnosis of Tuberculosis in Nonhuman Primates in International Perspectives: The Future of Nonhuman Primate Resources, (Washington (DC): National Academies Press, 2003).

Sara Johnston and others, Detailed Analysis of the African Green Monkey Model of Nipah Virus Disease, PLoS ONE, Volume 10 Issue 2 (February 2015).

Sery Gonedelé Bi and others, Chlorocebus sabaeus, (The IUCN Red List of Threatened Species, 2020).

Suchinda Malaivijitnond, Primate (Macaque) Research and Me in Primates Studies, Edited by Suddan Wisudthiluck and Worrawit Boonthai, (Bangkok: O.S. Printing House, 2021).

Wichuda Arreemit and Adisorn Phaepilin, Thailand’s Legal Challenge on the Threat of Felis catus to Natural Resources in The 12th Trans-Pacific International Conference (TPIC): Connectivity and Social Changes in the Trans-Pacific Region, (Busan: Pukyong National University, 2022).

Woodrow Denham, West Indian Green Monkeys: Problems in Historical Biogeography in Contributions to Primatology, Vol 24, Edited by Frederick Szalay, (Bazel: Karger, 1987).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2023

How to Cite

แผ่ไพลิน อดิศร, และ บุญไทย วรวิทย์. 2023. “นโยบายและกฎหมายในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่รุกรานในประเทศไทย: กรณีศึกษาลิงเขียวแอฟริกา (Chlorocebus sabaeus)”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (2):90-125. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.12.