มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่มีวิชาชีพทางพาณิชยนาวี
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.1คำสำคัญ:
มาตรการ, กฎหมาย, ส่งเสริม, บุคลากรที่มีวิชาชีพทางพาณิชยนาวีบทคัดย่อ
ในบทความฉบับนี้มุ่งเน้นการพิจารณาแนวโน้มกฎหมายที่จะเข้ามากำกับอุตสาหกรรมการขนส่งทางน้ำในส่วนของการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการสนับสนุน การปฏิบัติงานของบุคลากรทางด้านนี้ แม้ว่าจะมีการพยายามหาช่องทางแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีบ้างแล้วก็ตาม ทั้งนี้การบริหารจัดการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศและการทำงานของบุคลากรด้านนี้ได้ปรับใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ในการลดขีดจำกัดหรืออุปสรรค์ในด้านต่าง ๆ แต่ยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายในเรื่องการตีความบทบัญญัติดังกล่าวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอยู่บ่อยครั้ง และช่องว่างของกฎหมายไทยนี้เองเป็นเหตุให้เกิดจุดอ่อนที่นำไปสู่ปัญหาความลักลั่นของหน่วยงานที่จะเข้ามาบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย
ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงกฎหมายและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในบทความ โดยครอบคลุมถึงเนื้อหาเชิงกฎหมาย ผลของกฎหมาย และข้อเสนอแนะที่มีต่อภาครัฐเพื่อการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำแนกประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ชัดเจน อาทิ สถานการณ์ผลิตนักกฎหมายด้านพาณิชยนาวี บทบาทขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในส่วนที่เกี่ยวกับแรงงานคนประจำเรือ ข้อมติและอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองการจ้างงานคุ้มครองการปฏิบัติงาน รวมตลอดถึงกรณีตัวอย่างของประเทศต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนบุคลากรทางพาณิชยนาวี ดังเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ปานามา สหราชอาณาจักร และกรีซ เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้ผู้เขียนได้หยิบยกประเด็นกฎหมายพาณิชยนาวี ฯลฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในหลากหลายประเทศชั้นนำทางธุรกิจพาณิชยนาวีได้ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ ดังนั้น การเรียนการสอนในสาขาวิชาเหล่านี้จึงแทรกซึมเข้าสู่สถาบันการศึกษาทั้งในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศเหล่านั้น สำหรับประเทศไทยเองนั้นการตระหนักและการส่งเสริมการเรียนการสอนในรายวิชานี้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ขึ้น และในปี พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้กิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับกิจการสถานศึกษาพัฒนากำลังคนด้านพาณิชยนาวี ระบุให้เรือไทยต้องใช้คนประจำเรือที่มีสัญชาติไทย เป็นต้น
อีกหนึ่งปัญหาซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงเอาไว้คือ การขาดองค์กรกลางที่มีขีดความสามารถดังกล่าวทำให้ไม่มีการผลักดันนโยบาย ไม่มีการจัดทำเป้าหมาย แผนงาน และมาตรการในการพัฒนาบุคลากรทางพาณิชยนาวีอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีกฎหมายและระบบเพื่อส่งเสริมการให้ความคุ้มครองอาชีพคนประจำเรือและการส่งเสริมเยาวชนเข้าสู่วิชาชีพด้านพาณิชยนาวีอย่างเหมาะสมเพื่อส่งให้ประเทศไทยสามารถส่งออกบุคลากรทางพาณิชยนาวีที่มีคุณภาพไปทำงานในต่างประเทศแล้วนำเงินตรากลับเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการร่วมมือกันพัฒนางานพาณิชยนาวีภายในประเทศให้เติบโตเป็นวงกว้างได้อีกด้วย
เป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดของแต่ละหน่วยงานในการริเริ่มทบทวนบทบัญญัติซึ่งมีบังคับใช้อยู่และการปรับใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวเข้ากับบทบัญญัติกับหน่วยงานอื่นอย่างมีประสิทธิผล หากมาตรการดังกล่าวมีความทับซ้อนกันและดุลยพินิจของแต่ละหน่วยงานยังคงสร้างความแตกต่างในมาตรฐานการตีความกฎหมายซึ่งควบคุมการทำงานของบุคลากรทางพาณิชยนาวี ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงกฎหมายรวมถึงแนวนโยบายที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจุดประกายการอุดช่องว่างแห่งโอกาสไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ตลอดจนความคาดหวังในอนาคตต่อการจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น อีกทั้งการปรับเอาแบบอย่างของกฎหมายและแนวปฏิบัติจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศในด้านการขนส่ง เช่น IMO มาบังคับใช้ กำหนดบทลงโทษและวางแนวนโยบายที่เคร่งครัด เป็นต้น
Downloads
References
Adrian J. English, Armed Forces of Latin America, (Surrey: Janes Information Group, 2018).
Albert Wiweko, Muhamad Thamrin and Dedeng Wahyu Ed, The Effect of Vessel Seaworthiness and Crew's Competence on Marine Safety, Jurnal Manajemen Transportasi & Logistik (JMTranslog), Volume 2 Issue 3 (November 2015).
Brian Lavery, Nelson's Navy: The Ships, Men and Organization, (Annapolis: Naval Institute Press, 2019).
Careers on board [Online], Source: http://ww1.go-maritime.net
Dean King, John B. Hattendorf and J. Worth Estes, A Sea of Words: Lexicon and Companion for Patrick O'Brian's Seafaring Tales, (New York City: Henry Holt, 2020).
Gesine Stueck, 2.1. Future demand of maritime professionals in the maritime and port industry [Online], Source: www.Know-me.org
Javier Sánchez-Beaskoetxea and others, Human error in marine accidents: Is the crew normally to blame?, Maritime Transport Research, Volume 2 (March 2021).
Kenneth W. Estes, Robert Debs Heinl and Charles C. Krulak, Handbook for Marine NCOs, (Annapolis: Naval Institute Press, 2015).
KNOWME, Cross-cultural training needs of seafarers, shore-based person-nel and industry stakeholders [Online], Source: www.Know-me.org
Lionel Casson, The Ancient Mariners, 2 ed. (Princeton: Princeton University Press, 2019).
Maria Progoulaki and Ioannis Theotokas, Managing culturally diverse maritime human resources as a shipping company’s core competency, Maritime Policy & Management, Volume 43 Issue 7 (April 2016).
N.A.M. Rodger, The Wooden World: Anatomy of the Georgian Navy, (London: Fontana Press, 2018).
Prasadja Ricardianto and others, SAFETY STUDY ON STATE SHIPS AND COMMERCIAL SHIPS ACCORDING TO THE REQUIREMENTS OF SOLAS 1974, Journal of Economics, Management, Entrepreneurship, and Business (JEMEB), Volume 1 Issue 1 (May 2021).
Raymond Oliver, Why is the Colonel Called "Kernal"? The Origin of the Ranks and Rank Insignia Now Used by the United States Armed Forces, (Sacramento: Office of History, Sacramento Air Logistics Center, 2018).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.