หน้าที่ในการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.10คำสำคัญ:
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท, ความลับ, ไม่เป็นการกระทบสิทธิบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นเรื่องการรักษาความลับอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยซึ่งครอบคลุมถึงเรื่องหน้าที่ในการรักษาความลับของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ย การรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน และความรับผิดของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยอันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ โดยพบว่าพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้หน้าที่ในการรักษาความลับเป็นหน้าที่โดยเคร่งครัด โดยกำหนดเฉพาะกรณีที่พิสูจน์ได้ถึงความบกพร่องที่เกิดขึ้นระหว่างการไกล่เกลี่ย ศาลจึงมีคำสั่งไม่บังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาทได้ ผู้เขียนเห็นความไม่ชัดเจนว่าหากเป็นกรณีอื่น ๆ จะได้รับการยกเว้นหน้าที่ในการรักษาความลับหรือไม่ และกรณีไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับจนเกิดความเสียหายแล้ว จะกำหนดความรับผิดอย่างไร เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายในต่างประเทศแล้ว พบว่าข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยย่อมเป็นความลับ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงที่กระทบต่อสิทธิของฝ่ายเจ้าของข้อเท็จจริงหรือ “without prejudice” เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น เพื่อป้องกันภยันตรายแก่สาธารณะ เป็นต้น หรือเป็นกรณีบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงระงับข้อพิพาท โดยข้อยกเว้นดังกล่าวส่งผลให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ โดยการพิจารณาว่ารับฟังข้อเท็จจริงจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐาน พิจารณาจากความจำเป็นในการรับฟังเปรียบเทียบกับคุณค่าของการรักษาความลับว่าสมควรให้คุณค่ากับสิ่งใดมากกว่ากัน หากความจำเป็นในการรับฟังมีมากกว่า ย่อมเป็นเหตุยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงอันเกิดจากการไกล่เกลี่ยเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งในส่วนดังกล่าวกฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นข้อห้ามมิให้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นพยานหลักฐาน เพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีจำเป็นอื่น ๆ ได้ และยังไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยจะต้องรับผิดในความเสียหาย อันเนื่องมาจากการไม่ทำหน้าที่ในการรักษาความลับ หากเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงควรให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งส่วนท้ายผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น
Downloads
References
จันทร์เพ็ญ งามวิไลพงศ์, แนวทางกฎหมายว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในประเทศไทย: ข้อพิจารณาจากกฎหมายแม่แบบของ UNCITRAL, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2549).
ปวินี ไพรทอง, การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายใต้พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562, (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส ออฟเซ็ท กราฟฟิคดีไซน์, 2564).
วิชัย อริยะนันทกะ, วงการกฎหมายทั่วไป, ดุลพาห, ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2528).
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. .... ครั้งที่ 11, (2562).
สำนักส่งเสริมงานตุลาการ, ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบออนไลน์ ปีงบประมาณ 2564 เทียบปีงบประมาณ 2565 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://oja.coj.go.th/th/content/category/detail/id/10/cid/21/iid/323673
สุธาสินี สุภา, ความรับผิดและความคุ้มกันของผู้ประนอมข้อพิพาทในข้อพิพาททางพาณิชย์ระหว่างประเทศ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545).
โสภณ รัตนากร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน, พิมพ์ครั้งที่ 12 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564).
Andrew Agapiou and Bryan Clark, The Practical Significance of Confidentiality in Mediation [Online], Source: https://www.researchgate.net/publication/348686433
Christopher H. Macturk, Confidentiality in Mediation: The Best Protection Has Exceptions, American Journal of Trial Advocacy, Volume 19 (1995).
Delphine Wietek, Chapter 12: France in EU Mediation Law Handbook, (Kluwer Law International, 2017).
Dorcas Quek Anderson, A Coming of Age for Mediation in Singapore? - Mediation Act 2016, Singapore Academy of Law Journal, Volume 29 Issue 1 (2017).
Dorcas Quek Anderson and Sabiha Shiraz, Ch. 03 Mediation [Online], Source: https://www.singaporelawwatch.sg/About-Singapore-Law/Overview/ch-03-mediation
Ellen E. Deason, Procedural Rules for Complementary Systems of Litigation and Mediation - Worldwide, Notre Dame Law Review, Volume 80 Issue 2 (2005).
Eric R. Max, Confidentiality in Environmental Mediation, New York University Environmental Law Journal, Volume 2 Issue 2 (1993).
Eric Wagner and Britta Kamp, Mediation in Germany in Comparative Law Yearbook of International Business: International Mediation, (Kluwer Law International, 2020).
Gary B. Born, International Arbitration: Law and Practice, 2nd ed. (AH Alphen aan den Rijn: Kluwer Law International, 2016).
Kimberlee K. Kovach, Mediation: Principles and Practice, (Minnesota: West Publishing CO., 1994).
Kristina Osswald and Gustav Flecke-Giammarco, Chapter 13: Germany, In EU Mediation Law Handbook, (Kluwer Law International, 2017).
Laurence Boulle, Mediation Principle, Process, Practice, 3rd ed. (New Southwales: LexisNexis, 2011).
Nadja Alexander, International and Comparative Mediation Legal Perspectives, (Bedfordshire Kluwer Law International, 2009).
Owen V. Gray, Protecting the Confidentiality of Communications in Mediation, Osgoode Hall Law Journal, Volume 36 Issue 4 (1998).
R.G. Toulson and C.M. Phipps, Confidentiality, (London: Sweet & Maxwell, 1996).
Rebecca Callahan, Mediation Confidentiality: For California Litigants, Why Should Mediation Confidentiality Be a Function of the Court in Which the Litigation Is Pending?, Pepperdine Dispute Resolution Law Journal, Volume 12 Issue 1 (2013).
Sarah Rudolph Cole, Protecting Confidentiality in Mediation: A Promise Unfulfilled, Kansas Law Review, Volume 54 Issue 5 (2006).
Union Internationale des Avocats, International Report on Professional Secrecy and Legal Privilege, (2019).
United Nations, UNCITRAL Model Law on International Commercial Mediation and International Settlement Agreements Resulting from Mediation with Guide to Enactment and Use (2018), (2022).
United Nations General Assembly, A/Cn.9/468 Report of the Working Group on Arbitration on the Work of Its Thirty-Second Session (Vienna, 20 - 31 March 2000), edited by United Nations Commission on International Trade Law, (2000).
United Nations General Assembly, A/Cn.9/506 Report of the Working Group on Arbitration on the Work of Its Thirty-Fifth Session (Vienna, 19-30 November 2001), edited by United Nations Commission on International Trade Law, (2001).
United Nations General Assembly, A/Cn.9/Wg.Ii/Wp.108 Settlement of Commercial Disputes Possible Uniform Rules on Certain Issues Concerning Settlement of Commercial Disputes: Conciliation, Interim Measures of Protection, Written Form for Arbitration Agreement Report of the Secretary General, edited by United Nations Commission on International Trade Law, (2000).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.