ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม: กรณีศึกษามาตรา 77 จัตวา

ผู้แต่ง

  • ศริณัฐชา ศศิพัฒนกุล นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.3

คำสำคัญ:

ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย, การรับสิทธิประโยชน์, ประกันสังคม, บุตรบุญธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบ และแนวทางในการแก้ปัญหาการจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้มีสิทธิรับประโยชน์จากประกันสังคม กรณีศึกษามาตรา 77 จัตวา เมื่อผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย จากผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพเมื่อผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 กำหนดผู้มีสิทธิรับประโยชน์กรณีดังกล่าวไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการประกันสังคม เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือผู้ประกันตน เพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนชั่วระยะเวลาที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างหรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน เมื่อเปรียบเทียบการกำหนดผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีดังกล่าวของไทยกับต่างประเทศจะพบว่าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเยอรมนี กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนได้เป็นทายาทตามความเป็นจริงไม่ใช่ตามกฎหมายเหมือนของประเทศไทยที่พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดขึ้น อีกทั้งยังไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องของทายาทและมรดกอีกด้วย ทำให้ทายาทของผู้ประกันตนตามความเป็นจริงได้รับความเดือดร้อน ไปยื่นคำร้องต่อศาล ไปหาหลักฐานมายืนยัน ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมผู้เสียหาย มากกว่าการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเดือดร้อน ทั้งที่เงินนั้นส่วนหนึ่งเป็นเงินของผู้ประกันตนที่ถูกหักไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าหากเปรียบเทียบแล้วเสมือนเป็นทรัพย์สินที่มีก่อนถึงแก่ความตายเฉกเช่นมรดก เมื่อจากไปจะให้ครอบครัวนำมาใช้จ่ายยังเป็นเรื่องยาก หรือหากไม่มีทายาทที่รับรู้เรื่องเงินประกันสังคมดังกล่าว ก็จะตกเข้ากองทุนประกันสังคมไปโดยปริยาย จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกันสังคม มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) มาตรา 73 (1) (ข) และ (2) ให้บุตรบุญธรรมได้สิทธิเช่นเดียวกับบุตรตามกฎหมายของผู้ประกันตน เนื่องจากการกำหนดข้อยกเว้นนั้น ไม่เป็นธรรมแก่บุตรบุญธรรมของผู้ประกันตน ซึ่งไม่สอดคล้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 กำหนดให้บุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในฐานะบุตรผู้สืบสันดาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนกฤต วรธนัชชากุล, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับอ้างอิง, (กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2560)

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์, เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประกันสังคม [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/FQ%20140%20p28-29.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558, (กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานกฎหมาย กองกฎหมาย สำนักงานประกันสังคม, 2558)

สำนักงานประกันสังคม, สิทธิประโยชน์ทดแทนสำหรับผู้ประกันตน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประกันสังคม, 2556)

อารักษ์ พรหมณี, การประกันสังคมสำหรับบุคคลทั่วไป: ผลกระทบของการขยายระบบประกันสังคม กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537)

Advanced Research Group, ประกันสังคมคืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย? [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ar.co.th/kp/th/388

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2022

How to Cite

ศศิพัฒนกุล ศริณัฐชา. 2022. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม: กรณีศึกษามาตรา 77 จัตวา”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 (1):70-85. https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.3.