ปัญหาทางกฎหมายของการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน

ผู้แต่ง

  • ฉัตริกา สุดคีรี นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.6

คำสำคัญ:

คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, องค์กรเอกชน, ผู้มีส่วนได้เสีย, สิทธิฟ้องคดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน โดยพบว่าการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนามขององค์กรเอกชนในปัจจุบัน ผู้วิจัยเห็นความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของศาลปกครองในการตีความผู้มีส่วนได้เสียที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้สิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนบางประการยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิในการฟ้องคดีไว้  ทั้งนี้ ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีตามหลักกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายต่างประเทศ รูปแบบของกฎหมายสิ่งแวดล้อมในเรื่องผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

          โดยผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดเรื่องการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนในระบบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทำให้เห็นว่ากฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีการสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อปิดช่องว่างจากการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลขององค์กรเอกชนผู้มีส่วนได้เสียในกรณีการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในนามขององค์กรเอกชนซึ่งได้มีการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชนในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมายสารบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกณฑ์การวินิจฉัยความเป็นผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรเอกชนมีความชัดเจนและคุ้มครองสิทธิขององค์กรเอกชนในการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิรพัฆน์ ผลพฤกษ์, รายงานผลโครงการพัฒนาตุลาการศาลปกครองด้านสิ่งแวดล้อม (Green Judges) ปี 2555: การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ อย่างยั่งยืน, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เพรส จำกัด, 2556).

คณะกรรมการด้านวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมศาลปกครอง, รายงานผลโครงการพัฒนาตุลาการศาลปกครองด้านสิ่งแวดล้อม (Green Judges) ปี 2557: การจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความมั่นคงทางพลังงานในอาเซียน, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด, 2558).

นรินทร์ อิธิสาร, สิทธิฟ้องคดีของสมาคมสิ่งแวดล้อมในระบบกฎหมายเยอรมัน, วารสารวิชาการศาลปกครอง สำนักงานศาลปกครอง, ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2557).

ปิยบุตร แสงกนกกุล, ส่วนได้เสียของ “สมาคม” ในการฟ้องคดีปกครองสิ่งแวดล้อมในระบบกฎหมายฝรั่งเศส, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2556).

เพ็ญนภา พจชมานะวงศ์ และคณะ, การพิจารณาความเป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย แนวทางการพัฒนาวิธีพิจารณาคดีปกครองสิ่งแวดล้อม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานศาลปกครอง, 2557).

พยงค์ ฉัตรวิรุฬห์, คำอธิบายพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์, 2558)

วิชา สิทธิวงษ์, การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองขององค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, (กรุงเทพมหานคร: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพนักงานคดีปกครองระดับสูงรุ่นที่ 11 สำนักงานศาลปกครอง, 2559).

วรรณภา ติระสังขะ, กฎบัตรว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของประเทศฝรั่งเศส: หลักการพื้นฐานในกฎหมายสิ่งแวดล้อม (La charte de l’environnement) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://admc.admincourt.go.th/search_detail/result/,DanaInfo=oer.admincourt.go.th+11140

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2542).

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, เอกสารเพื่อประกอบการพิจารณากฎหมายของสมาชิกรัฐสภา เล่มที่ 2 เรื่อง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... กรณีศึกษากฎหมายนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมายสิ่งแวดล้อมพื้นฐานของประเทศญี่ปุ่น, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2545).

สุภัคคินี จันทร์โฉม, ปัญหาการดำเนินคดีกับหน่วยงานของรัฐที่กระทำละเมิดในคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555).

สำนักงานศาลปกครอง, ศาลปกครองแผนกคดีสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดิน ดีไซน์ จำกัด, 2554).

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2566)

Jesse L. Moorman and Zhang Ge, Promoting and Strengthening Public Participation in China's Environmental Impact Assessment Process: Comparing China's EIA Law and U.S. NEPA, Vermont Journal of Environmental Law, Volume 8 Issue 2 (Spring 2007).

Martine Boersma and Hans Nelen (eds.), Corruption & Human Rights : Interdisciplinary Perspectives, (Cambridge: Intersentia, 2010).

Ronald J. Rychlak and David W. Case, Environmental law, (Oxford: Oxford university Press, 2010).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22.01.2024

How to Cite

สุดคีรี ฉัตริกา. 2024. “ปัญหาทางกฎหมายของการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กรเอกชน”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 7 (1):218-58. https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.6 .