การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ และการเสริมสร้างระบบนิเวศทางการวิจัย และนวัตกรรมของสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เกวลิน ต่อปัญญาชาญ อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.5

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, การใช้ประโยชน์, ผลงานวิจัยและนวัตกรรม, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม (2) เพื่อศึกษาแนวทางของกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) และองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม (3) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรมของประเทศที่เลือกศึกษา ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (4) เพื่อวิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแล และการใช้ประโยชน์วิจัย และการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย วิธีการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการอภิปรายกลุ่มย่อย มาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม รวม 15 คน ได้แก่ กลุ่มตัวแทนของผู้ให้ทุนวิจัย กลุ่มตัวแทนของผู้รับทุน และผู้วิจัย กลุ่มตัวแทนธุรกิจภาคเอกชน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ได้แก่แนวคิดภารกิจอุดมศึกษากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แนวคิดว่าด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ ทฤษฎีเศรษฐกิจ ทฤษฎีสิทธิตามธรรมชาติ แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด แนวคิดเศรษฐกิจบนฐานความรู้ แนวคิดระบบนิเวศนวัตกรรมซึ่งแต่ละแนวคิดต่างมีความสอดคล้องและเอื้อให้เกิดระบบนิเวศในการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้จากการศึกษาแนวทางของ WIPO พบว่ามีแนวทางให้มหาวิทยาลัยปรับตัวและสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านผลงานวิจัย นวัตกรรม และส่งเสริมให้มีการสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในสถานศึกษา ในส่วนของUNESCO พบว่า มีการกำหนดพันธกิจขององค์การในการเติมเต็มพันธกิจด้านการศึกษาให้แต่ละประเทศ เพื่อให้ผลงานวิจัยมีการบูรณาการกับการเรียนรู้และตอบสนองต่อประโยชน์ของชุมชนและสังคม การศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและไทยพบว่าเป้าหมายของแต่ละประเทศมีความสอดคล้องกันในหลักการ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดเช่น มาตรการทางกฎหมายและข้อจำกัดในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม การพัฒนาหน่วยงานและนโยบายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม จากการวิเคราะห์ข้างต้นนำไปสู่ข้อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริม กำกับดูแล และการใช้ประโยชน์วิจัย และการสร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมสำหรับประเทศไทยในประเด็นต่างๆ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 แนวทางการพัฒนากฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 แนวทางการพัฒนาหน่วยงานและนโยบายในการส่งเสริม กำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย และนวัตกรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล, อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เกวลิน ต่อปัญญาชาญ, อาจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ความรู้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้น [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson1.pdf

จักรกฤษณ์ ควรพจน์, แนวคิดเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2543).

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ, รายงานการวิจัย เรื่อง การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในสถาบันการศึกษาของญี่ปุ่น, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2550).

พิริยะ ผลพิรุฬห์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย, วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (มกราคม 2556).

วลัยวรรณ มธุรสปรีชากุล และเกวลิน ต่อปัญญาชาญ, โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาสิทธิบัตรร่วมเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรม, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), 2564).

สมบัติ กุสุมาวลี, เศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้ฐานสำคัญของเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/QM155_p108-111.pdf

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, สอวช. เผยตัวเลขการลงทุน R&D ไทย รอบสำรวจปี 62 เติบโตพุ่ง 1.11% ต่อจีดีพี คาดหลังประเทศเผชิญโควิด ตัวเลขปรับตัวลดลงอยู่ที่ 1.09% ต่อจีดีพี จากภาคเอกชนลดงบประมาณการลงทุน ชี้ ปี 70 แตะเป้า 2% ได้ หากรัฐขึ้นมาเป็นผู้นำอัดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเต็มสูบ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.nxpo.or.th/th/4885/

อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ, การบรรยายหัวข้อ “กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการงานวิจัยที่ควรรู้” [ออนไลน์], แหล่งที่มา http://www.arda.or.th/datas/file/1494926333.pdf

Association of University Technology Managers, “Landmark Law Helped Universities Lead the Way [Online], Source:https://autm.net/about-tech-transfer/advocacy/legislation/bayh-dole-act

AUTM, Making a Better World: AUTM’s 2022-2024 Strategic Plan [Online], Source: https://autm.net/about-autm/mission-history/strategic-plan

AUTM, “Technology Transfer Courses for Professional” Development [Online], Source: https://autm.net/careers-and-courses/professional-development-courses/autm-university/2022/ops-compliance

Kittiya Upathum, Bayhdole Act กับสิทธิของนักวิจัย [Online], Source: https://idgthailand.com/bayh-dole-act-02/

UNESCO, Universities as Centers of Research and Knowledge Creation: An Endangered Species? Summary Report, In Colloquium on Research and Higher Education Policies UNESCO, 29 November – 1 December 2006 Paris [Online], Source: https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000151957?2=null&queryId=N-EXPLORE-18b1b734-c70b-49fb-918a-f28576482ff

WIPO, The Role of IP in research and teaching (November 2019) Special Issue 11/2019 [Online], Source: https://www.wipo.int/wipo_magazine/en/2019/si/article_0010.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22.01.2024

How to Cite

มธุรสปรีชากุล วลัยวรรณ, และ ต่อปัญญาชาญ เกวลิน. 2024. “การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ และการเสริมสร้างระบบนิเวศทางการวิจัย และนวัตกรรมของสถานศึกษา”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 7 (1):169-217. https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.5 .