กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน (ตอนที่ 1)

ผู้แต่ง

  • ภรณี เกราะแก้ว ผู้พิพากษาประจำศาล ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษา ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานศาลยุติธรรม

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.12

คำสำคัญ:

การกระทำผิดของเด็กและเยาวชน, ศาลเยาวชนและครอบครัว, กระบวนยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

“ได้ยินว่าถ้าอายุยังไม่ถึง 14 ปี ถึงจะฆ่าคนก็ไม่ต้องติดคุก จริงหรือเปล่า” ประโยคหนึ่งในตัวอย่างสั้นของซีรีส์เรื่อง “Juvenile Justice” ที่เด็กชายวัย 13 ปีพูดกับผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีด้วยท่าทีที่ไม่เกรงกลัวซ้ำยังระเบิดอารมณ์ขำด้วยเสียงหัวเราะลั่นห้องพิจารณาคดีทำเอาผู้พิพากษากับเจ้าหน้าที่ในห้องพิจารณาถึงกับหยุดชะงัก เด็กชายคนดังกล่าวถูกดำเนินคดีหลังก่อเหตุฆาตกรรมหั่นศพเด็กชายวัย 9 ปีซึ่งเป็นเพื่อนบ้านอย่างเลือดเย็น หลังเกิดเหตุเด็กชายผู้ก่อเหตุเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่าเขาเป็นฆาตกรพร้อมขวานที่ใช้เป็นอาวุธโดยไม่มีท่าทีสะทกสะท้านและอ้างว่าเขามีอาการป่วยเป็นโรคจิตเภท เหตุการณ์ดังกล่าวแม้จะเป็นเพียงเรื่องสมมติแต่นับว่าใกล้เคียงกับเรื่องจริงในสังคมไทยปัจจุบันอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 ผู้ก่อเหตุเป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปี วางแผนให้เด็กชายอายุ 16 ปี ซึ่งเป็นคนรักลงมือฆ่ามารดาและทำร้ายพี่ชายของตนหลังถูกกีดกันความรักที่สะเทือนจิตใจและหดหู่ไม่แพ้เรื่องสมมติ นำมาสู่การตั้งคำถามและเสียงสะท้อนของคนในสังคมว่าปัจจุบันเด็กหรือเยาวชนกระทำผิดที่อุกอาจสะเทือนขวัญราวกับเป็นผู้ใหญ่เหตุใดกฎหมายจึงยังคุ้มครอง เป็นเด็กทำผิดแล้วไม่ติดคุกจริงหรือไม่ รวมถึงการตั้งประเด็นย้อนกลับไปในสังคมว่า “แท้จริงแล้วเด็กอาจไม่ใช่ผ้าขาวบริสุทธิ์” ดังที่เคยเปรียบเปรยกันในสังคมมายาวนานชวนให้ผู้เขียนนึกย้อนมาถึงกระบวนยุติธรรมในคดีอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยที่ปัจจุบันมีกฎหมายและมีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำผิดโดยเฉพาะแยกต่างหากจากศาลที่พิจารณาคดีอาญาทั่วไปที่ผู้ใหญ่เป็นผู้กระทำผิด บทความนี้จะพาผู้อ่านไปรู้จักกฎหมายและกระบวนการพิเศษเหล่านี้ว่าเหตุใดกฎหมายจึงต้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนผู้กระทำผิดไว้โดยเฉพาะ มีกระบวนการและมาตรการพิเศษต่าง ๆ แทนการพิพากษาลงโทษอย่างผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่อย่างไรบ้างและในความเป็นจริงแล้วมาตรการพิเศษเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นหวนกลับมากระทำผิดซ้ำได้แท้จริงหรือไม่ เพียงใด

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทัตเทพ จันทรเมธีกุล, อิทธิพลของการเปิดรับ และทัศนคติต่อแฮชแท็กซีรีส์บนทวิตเตอร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับชมซีรีส์ไทยของกลุ่ม Generation Y และ Z, วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2565).

ไทยรัฐออนไลน์, ช็อกสังคม ด.ญ.14 ฆ่าแม่ บงการวางแผนแฟนหนุ่มวัย 16 พี่ชายสาหัส [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/central/2363512

บุญเพราะ แสงเทียน, กฎหมายเกี่ยวกับเยาวชนและครอบครัวแนวประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์, 2546).

ปกป้อง ศรีสนิท, การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบศาล : การจัดทำและการเปิดเผยยี่ต๊อกในคดีอาญา [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.the101.world/sentencing-guideline-in-criminal-case/

ปพนธีร์ ธีระพันธ์, กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศสิงคโปร์ : ข้อสังเกตเปรียบเทียบกับประเทศไทย, วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562).

ประธาน วัฒนวาณิชย์, กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน การศึกษาเปรียบเทียบบรรทัดฐานทางด้านกฎหมาย, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (กันยายน 2530).

ปันณ์นภัส ธนอริยาไพศาล, จริงหรือไม่ “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.netpama.com/Library/detail/104

พัลลภ พิสิษฐ์สังฆการ, คำอธิบายพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ใน หนังสือครบรอบ 2 ปี ศาลจังหวัดจันทบุรี แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว, (กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์การพิมพ์, ม.ป.ป.).

ภรณี เกราะแก้ว, เล่าเรื่องคดีอาญา : การใช้ดุลพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษ และเงื่อนไขในการคุมประพฤติจำเลย, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2564).

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมายไทย, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 48 ฉบับที่ 4 (ธันวาคม 2562).

มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์, กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน, (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551).

รัสรินทร์ ใน ผู้จัดการออนไลน์, Review ซีรีส์ : “หญิงเหล็กศาลเยาวชน - Juvenile Justice” ผู้พิพากษาท้าชนอาชญากรเด็ก [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://mgronline.com/drama/detail/9650000025225

ศูนย์ปฏิบัติการกรม, สถิติจำนวนเด็กและเยาวชนในสถานควบคุมทั่วประเทศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.appdjop.djop.go.th/djopsupport/warroom2/warroom1.htm

สหรัฐ กิติ ศุภการ, หลักและคำพิพากษาพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2563).

หยุด แสงอุทัย, คำอธิบายกฎหมายศาลเด็ก, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานประชานิติ, 2495).

Ivlita Gogua, Juvenile Delinquency - Causes, Prevention, and the Ways of Rehabilitation [Online], Source: https://www.penalreform.org/blog/juvenile-delinquency-causes-prevention-and-the-ways-of/

Korea Legislation Research Institute, Juvenile Act, 2015 (Act No. 13524/2013) [Online], Source: https://elaw.klri.re.kr/eng_service/lawView.do?hseq=37128&lang=ENG

Netflix Thailand, Juvenile Justice Highlight - สุดพีค! เป็นเด็ก ฆ่าคนไม่ติดคุกจริงหรือไม่! [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=spkY0LCdSn8

Netflix, Netflix คืออะไร [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://help.netflix.com/th/node/412

UNICEF, อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคืออะไร [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.unicef.org/thailand/what-is-crc

William Kim, Much Needed Reformation in South Korea’s Juvenile Act [Online], Source: https://www.cardozociclr.com/post/much-needed-reformation-in-south-korea-s-juvenile-act

Yoon Min-sik, Korea asks: what age is too young to be a criminal? [Online], Source: http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20220329000666

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2022

How to Cite

เกราะแก้ว ภรณี. 2022. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน (ตอนที่ 1)”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 5 (2):201-32. https://doi.org/10.14456/mfulj.2022.12.