กลไกการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการ: ศึกษาเฉพาะกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และมาตรา 145/1

ผู้แต่ง

  • ธนิต สมร เสนีย์สุทรกุล นิสิตในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.7

คำสำคัญ:

การตรวจสอบดุลพินิจพนักงานอัยการ, การอุทธรณ์หรือฎีกาคดีอาญา, พนักงานอัยการ

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 กำหนดให้รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร...” และมาตรา 258 (ง) (1) และ (2) กำหนดให้การดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมให้เกิดผลโดยให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้าและปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม แต่ปัจจุบันยังมีกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และ มาตรา 145/1 มิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวทั้งในเรื่องการกำหนดองค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ และความล่าช้าในการตรวจสอบ ทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจและยังกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของจำเลยในคดีโดยเฉพาะคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องแต่มีคำสั่งขังจำเลยไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา รอกระบวนการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการที่ล่าช้า ส่งผลให้จำเลยถูกคุมขังนานเกินความจำเป็น บทความนี้จึงได้ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดุลพินิจ การตรวจสอบดุลพินิจ และการอุทธรณ์ ฎีกาคดีอาญาของพนักงานอัยการ ประกอบกับกลไกการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมของกลไกในการตรวจสอบดุลพินิจของพนักงานอัยการในการออกคำสั่งไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกาของระบบกฎหมายไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ธนิต สมร เสนีย์สุทรกุล, นิสิตในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

โกนเมน ภัทรภิรมย์, การฟ้องคดีอาญาในประเทศฝรั่งเศส ใน ชีวิตและผลงานโกนเมน ภัทรภิรมย์, บรรณาธิการโดย รังสิชัย บรรณกิจวิจารณ์ (กรุงเทพมหานคร: ศรีสมบัติการพิมพ์, 2536).

คณิต ณ นคร, อัยการเยอรมันและการดำเนินคดีอาญาของอัยการเยอรมันก่อนฟ้อง ใน รวมบทความวิชาการของ ศ.ดร.คณิต ณ นคร, บรรณาธิการโดย สหาย ทรัพย์สุนทรกุล (กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร, 2540).

ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ และคณะ, การวิจัยเพื่อลดปริมาณคดีที่มาสู่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา, (รายงานวิจัย), (กรุงเทพมหานคร: 2544).

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ, การตีความกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์, 2523).

ธานิศ เกศวพิทักษ์, คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 13 (กรุงเทพมหานคร: บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด, 2559).

นิษฐนาถ คงนวล, การตรวจสอบอำนาจอิสระของพนักงานอัยการภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550: ศึกษากรณีการสั่งคดีตามดุลพินิจ, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2555).

ประเสริฐ โหล่วประดิษฐ์, ปัญหาการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง: ศึกษากรณีการทบทวนคำพิพากษา, (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล หลักสูตรผู้พิพากษาศาลชั้นต้น สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม, 2546).

ปริญญา จิตรการนทีกิจ, หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2549).

ศิระ บุญภินนท์, อัยการญี่ปุ่น ระบบอัยการญี่ปุ่น: แนวคิดและทิศทางในการปฏิรูประบบอัยการไทย, เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ 23 มกราคม 2540. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)

ศิระ บุญภินนท์, การควบคุมดุลพินิจอัยการในประเทศญี่ปุ่น, วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2541).

ศิริชัย พลการ, บทบาทของอัยการในการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรม, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2550).

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 15 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เสมาธรรม, 2548).

อดิศร ไชยคุปต์, ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542).

อุทัย อาทิเวช, การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ตัวอย่างของระบบลูกขุนฝรั่งเศส วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2552).

Anke Frechmann and Thomas Wegerich, The German Legal System (London: Sweet & Maxwell).

David A Jones Little, The law of criminal procedure: an analysis and critique, (Boston: Little Brown and Company, 1981).

Hans-Heinrich Jescheck, The Discretionary Powers of the Prosecuting Attorney in West Germany, The American Journal of Comparative Law, Volume 18 Issue 3 (1970).

Hideo Tanaka, The Japanese Legal System, (Tokyo: University of Tokyo Press, 1976).

Jay A.Sigler, The Prosecutor: A comparative Functional Analysis, in The Prosecutor, ed. William F. McDonald (California: Sage Publications, 1979).

Joachim Herrmann, The Rule of compulsory Prosecution and the Scope of Prosecutorial Discretion in Germany, (The University of Chicago Law Review, 1974).

Klaus Sessar, Prosecutorial Discretion in Germany, in The Prosecutor, ed. William F. McDonald (California: Sage Publications, 1979).

Mariann Loschnig-Gspandl and Michael kilching, Victim Offender Mediation and Victim Compensation in Austria and Germany-Stock Taking and Perspectives for Future Research, European Journal of Crime, Criminal Law and Criminal Justice Vol.58 (1997).

Shigemisu Dando, The Japanese Law of Criminal Procedure, (Trans B.J.South Hackensack: Fred 3 Rothman Co, 1965).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22.01.2024

How to Cite

เสนีย์สุทรกุล ธนิต สมร. 2024. “กลไกการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่อุทธรณ์ ฎีกาของพนักงานอัยการ: ศึกษาเฉพาะกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และมาตรา 145/1”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 7 (1):259-313. https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.7 .