การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีศูนย์ยุติธรรมตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พินิจนันท์ พรหมารัตน์ อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.8

คำสำคัญ:

ยุติธรรมชุมชน, ชุมชุน, กลุ่มชาติพันธุ์, วิถีชีวิตอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

ระบบยุติธรรมชุมชนเป็นรูปแบบการดำเนินกระบวนยุติธรรมในลักษณะที่เป็นทางเลือก โดยวิธีการเชิงกลยุทธ์ในการลดและป้องกันอาชญากรรมด้วยการสร้างและส่งเสริมการทำงานร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วนภายในชุมชนอันเป็นแนวคิดที่รัฐตระหนักในศักยภาพของชุมชนในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนเอง เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนในการดำเนินกระบวนยุติธรรมร่วมกับภาครัฐ โดยให้กระบวนยุติธรรมขยายความร่วมมือและรับผิดชอบไปยังประชาชนและชุมชนเพื่อสร้างการป้องกัน ควบคุม ลดปัญหา และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมอันส่งผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชนในการเข้าถึงกระบวนยุติธรรม และช่วยลดปริมาณคดีที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลได้อีกทาง แต่การนำระบบยุติธรรมชุมชนไปใช้กับชุมชนยังพบปัญหาในการดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาระบบยุติธรรมชุมชนในการระงับข้อพิพาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมศึกษารูปแบบจารีตประเพณี กฎระเบียบของกลุ่มชาติพันธุ์ ในตำบลแม่นะ ในการระงับข้อพิพาท และเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบยุติธรรมชุมชนให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลการวิจัยพบว่าศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม่สามารถขับเคลื่อนระบบยุติธรรมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่เนื่องจากปัญหาในเชิงโครงสร้างการดำเนินการ ความไม่ชัดเจน และสถานะของศูนย์ยุติธรรมชุมชนภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กลุ่มชาติพันธุ์ยังไม่สามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมกับศูนย์ยุติธรรมชุมชนโดยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์มีกฎเกณฑ์จารีตประเพณีภายในของตนเองในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชุมชน จึงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบยุติธรรมชุมชนให้เป็นยุติธรรมชุมชนภายในหมู่บ้านเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถนำกฎเกณฑ์ จารีตประเพณีในการระงับข้อพิพาทภายในของตนมาปรับใช้กับยุติธรรมชุมชน เพื่อให้ระบบยุติธรรมชุมชนสามารถขับเคลื่อนดำเนินการต่อไปได้และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ได้มีส่วนร่วมในกระบวนยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย ใน ยุติธรรมชุมชน : บทบาทการอำนวยความยุติธรรมโดยชุมชนเพื่อชุมชน, บรรณาธิการโดย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550).

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, ยุติธรรมชุมชน : ทฤษฎีกระบวนการยุติธรรมภาคประชาชน ใน ยุติธรรมชุมชน : บทบาทการอำนวยความยุติธรรมโดยชุมชนเพื่อชุมชน, บรรณาธิการโดย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550).

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย สุทธิ สุขยิ่ง และมูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ, ยุติธรรมชุมชน : การเปิดพื้นที่ของชุมชนในการอำนวยความยุติธรรม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (กรุงเทพมหานคร, 2551).

ณรงค์ ใจหาญ, กระบวนยุติธรรมทางเลือกและกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มิถุนายน 2554).

ณัฐดนัย นาจันทร์, ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดพหุนิยมทางกฎหมายกับทฤษฎีว่าด้วยรัฐและสัญญาประชาคม, วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม 2560).

ทวิตรา เจรจา, การเสริมสร้างแนวความคิดกระบวนการยุติธรรมชุมชนภายใต้บริบทของกฎหมายรัฐธรรมนูญ, สถาบันพระปกเกล้า (กรุงเทพมหานคร: 2560).

สมชาติ เอี่ยมอนุพงษ์, ยุติธรรมชุมชนคืออะไร [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://probation.go.th/contentdl.php?id=792

สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ และคณะ, 2562, ยุติธรรมชุมชน: กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสังคมไทย, ในรายงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562.

สุพิชฌาย์ ศิริวัฒนา สีตะสิทธิ์, แนวทางที่เหมาะสมในการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดซ้ำในกระบวนการยุติธรรมไทย, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558).

สุรชัย (ฟูอ๊าด) ไวยวรรณจิตร และคณะ, การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (กรุงเทพมหานคร: 2559).

อนุชาติ คงมาลัย, การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาชั้นพนักงานอัยการ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.ago.go.th/articles_56/article_040156.pdf

David R. Karp and Todd R. Clear, Community Justice: A Conceptual Framework, Criminal Justice, volume 2 (January 2000).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2021

How to Cite

พรหมารัตน์ พินิจนันท์. 2021. “การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน: ศึกษากรณีศูนย์ยุติธรรมตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 4 (2):94-127. https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.8.