ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่อยู่ภายในอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.16คำสำคัญ:
ข้อยกเว้น, การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ, ศาลรัฐธรรมนูญ, เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญบทคัดย่อ
ข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อยกเว้นการกระทำโดยตรง และข้อยกเว้นที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ซึ่งจากการศึกษาระบบร้องการทุกข์ทางรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ ก็พบว่ามีข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญที่คล้ายกันกับข้อยกเว้นของไทย แต่จะมีความแตกต่างกัน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ประการแรก ถ้อยคำที่ใช้กำหนดข้อยกเว้นที่เป็นการกระทำโดยตรงในกฎหมายจะเป็นถ้อยคำที่มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงว่าเป็นการกระทำใด ประการที่สอง ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับการกระทำในเรื่องการหมดสิ้นหนทางเยียวยาตามกฎหมายจะไม่ใช่ข้อยกเว้นแบบเด็ดขาด แต่จะมีการดุลยภาพให้ศาลสามารถรับคดีบางประเภทที่มีความจำเป็นในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไว้พิจารณาได้แม้ว่าจะคำร้องนั้นจะยังไม่หมดสิ้นหนทางเยียวยาตามกฎหมายก็ตาม และประการที่สาม ข้อยกเว้นการกระทำโดยตรงของไทยในบางเรื่องไม่พบในข้อยกเว้นของต่างประเทศ
จากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อยกเว้นของต่างประเทศแล้วพบว่าการกำหนดข้อยกเว้นเรื่องการกระทำในระบบการร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญของไทยมีปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาการกำหนดข้อยกเว้นที่ใช้ถ้อยคำที่ไม่เฉพาะเจาะจง และปัญหาการตีความกฎหมายของศาล อันได้แก่ ปัญหาการตีความมาตรา 47 (2) และ 47 (3) และมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดความไม่แน่นอนและความไม่เป็นเอกภาพในการใช้การตีความกฎหมายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการจะเปิดช่องให้ประชาชนอาศัยช่องทางดังกล่าวร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ทำการคุ้มครองสิทธิของตนเองได้มากขึ้น และทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและผู้ปกป้องรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้มีข้อเสนอแนะสามประการ ได้แก่ เสนอแนวทางในการตีความมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และแนวทางในการใช้มาตรา 47 ดังกล่าวในการพิจารณารับคำร้อง และแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 46 ถึงมาตรา 48 ตามกฎหมายฉบับเดียวกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นเอกภาพในระบบการพิจารณาคำร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ตามเจตนารมณ์และอย่างเต็มประสิทธิภาพ
Downloads
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, การกระทำทางรัฐบาล : ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพมหานคร: 2554).
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันกับหลักการจำกัดอำนาจตนเองของฝ่ายตุลาการ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 (มีนาคม 2557).
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, อำนาจองค์กรตุลาการในมิติทางการเมือง : สำรวจความรู้ทางรัฐศาสตร์ร่วมสมัย, วารสารศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ปีที่ 17 ฉบับที่ 50 (สิงหาคม 2558).
บรรเจิด สิงคะเนติ, การใช้สิทธิทางศาลของบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพมหานคร: 2551).
บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ...., สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2560.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 213 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561, สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (กรุงเทพมหานคร: 2563).
รวินท์ ลีละพัฒนะ และชมพูนุช ตั้งถาวร, มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลในประเทศไทย : ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2565).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมัน : วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายไทย, คณะกรรมการวิจัยและสัมมนา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร: 2553).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คําสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2562).
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ‘ข้อยกเว้นเรื่องการกระทำที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 47 และคำร้องที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา 46 วรรคสาม และมาตรา 48 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561’ ใน สรุปผลการสัมมนาโครงการสัมมนาประเด็นรัฐธรรมนูญระหว่างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นท์, 2564).
สุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ, สิทธิของบุคคลในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร: 2562).
อานนท์ มาเม้า อภินพ อติพิบูลสิน และสุรศักดิ์ บุญญานุกูลกิจ, สิทธิประชาชนฟ้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน, งานวิชาการรำลึก ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม ครั้งที่ 7, (กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561).
Allan R. Brewer-Carias, Constitutional Protection of Human Rights in Latin America : A Comparative Study of Amparo Proceedings, (New York: Cambridge University Press, 2009).
European Commission for democracy through law, Study on individual access to constitutional justice, Venice Commission, (Strasbourg: 2011).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.