ผลกระทบการเรียนรู้ในวิชานิติศาสตร์จากกรณีการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ธีระญา ปราบปราม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.6

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา (โควิด-19), นิติศาสตร์, มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF)

บทคัดย่อ

การศึกษาเป็นบริการสาธารณะของรัฐอย่างหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หลักสูตรนิติศาสตร์มีหน้าที่ให้บริการสาธารณะดังกล่าว ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์จำนวน 67 คน (ร้อยละ 100) และอาจารย์ประจำหลักสูตร 5 ท่าน (ร้อยละ 100) ผลการวิจัยจากปัญหา 1) ผลกระทบการเรียนรู้ในวิชานิติศาสตร์จากกรณีการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์เมื่อนำวิธีการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ การประเมินผลแบบออนไลน์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมที่ใช้เรียนออนไลน์ที่แตกต่างส่งผลกระทบต่อการเรียนในระดับมากที่สุด และการประเมินผลที่ปรับเปลี่ยนใช้ข้อสอบแบบเปิด ทำให้นักศึกษามีความไม่เข้าใจและไม่สามารถอธิบายความรู้ของตนได้ ทำให้ผลการสอบในบางรายวิชาสอบไม่ผ่าน และ 2) ผลกระทบการเรียนรู้ทางด้านการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ในการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) อันได้แก่ (1) การเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม พบว่า คุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องเรียนรู้พฤติกรรมส่วนบุคคลที่มาจากจิตสำนึกแต่ในขณะเดียวกันหากมีการปฏิสัมพันธ์จากพฤติกรรมของผู้สอนอย่างใกล้ชิดซึ่งจะส่งผลถึงความรู้สึกของผู้เรียนรู้อันเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้มีพฤติกรรมเลียนแบบได้ (2) การเรียนรู้ด้านความรู้ พบว่า การชี้แนะในกระบวนการนำไปสู่วิธีการค้นคว้าที่สูงขึ้นควรได้การแนะนำและสอนอย่างใกล้ชิดที่สามารถตอบโต้ได้ทันที ซึ่งถ้าทำผ่านระบบออนไลน์จะเกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้ดังกล่าว (3) การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา พบว่า ความสามารถในการใช้และการตีความกฎหมาย การเทียบเคียง และการค้นหาหลักเกณฑ์หรือทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อนำมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงหรือปัญหาต่าง ๆ ได้รับผลกระทบสูงสุดจากการประเมินโดยผู้สอน (4) การเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ พบว่า ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่มีต่อกันในห้องที่มีการเรียนการสอนจริง นักศึกษาจะมีความรวดเร็วในการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย (5) การเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้นักศึกษามีความพร่องทักษะด้านนี้ เพราะการสื่อสารการเรียนแบบออนไลน์ทำให้การพัฒนาด้านดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวผู้เรียนไม่สามารถจัดระบบการเรียนรู้โดยตนเองได้

จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงขอเสนอแนะว่า รัฐต้องมีวิธีการที่รับมือกับโรคระบาดในภายหน้า เพื่อให้การบริการสาธารณะด้านการศึกษาดำเนินไปได้ การเรียนรู้ถึงปัญหาของการศึกษาตั้งแต่เชิงโครงสร้าง และในส่วนของผู้สอนและนักศึกษาก็ช่วยกันแก้ปัญหาการมอบหมายให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง และในการสอนในบางหัวข้อเมื่อมีเหตุจำเป็นก็ควรใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่ลดความกังวลทั้งฝ่ายผู้สอนและผู้เรียนเช่นข้อสอบแบบปลายเปิด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยา ศรีปาน, การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบุญเลิศอนุสรณ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา, ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ (สงขลา, 2542).

ทิพย์ หาสาสน์ศรี, การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรุงเทพมหานคร, 2553).

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค, กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2020/04/19-economists-with-covid-19-15/1

วิภาวรรณ ถิ่นจันทร์ และคณะ, การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนการสอน: กรณีศึกษาอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (กรุงเทพมหานคร, 2560).

ศุภชัย ศรีสุชาติ, การศึกษาวิจัยเปรียบเทียบการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาบทเรียนจากนานาประเทศ, สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร, 2563).

อดิสรณ์ อันสงคราม, ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับการใช้โลกออนไลน์มากกว่าการใช้ชีวิตในโลกแห่งความจริง, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม (กรุงเทพมหานคร, 2556).

อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม และประพาฬ เฟื่องฟูสกุล, การประเมินผลการเรียนรายวิชาในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กรุงเทพมหานคร, 2552).

Bayham and Fenichel, Impact of school closures for COVID-19 on the US health-care workforce and net mortality: a modelling study. The Lancet, Volume 5 Issue 5 (May 2020).

Hanushek and Woessman, Education Knowledge Capital and Economic Growth in Economics of Education, 2nd (2020) [Online], Source: http://hanushek.stanford.edu/publications/quantitative-look-economic-impact-european-union%E2%80%99s-educational-goals

The Brookings Institution, Brookings Report (2017) Summer learning loss: What is it, and what can we do about it? [Online ], Source: https://www.brookings.edu/research/summer-learning-loss-what-is-it-and-what-can-we-do-about-it/

World Health Organization, Report of the WHO-China, Joint Mission on Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). WHO.Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public, [Online], Source: https://www.who.int/publications/i/item/report-of-the-who-china-joint-mission-on-coronavirus-disease-2019-(covid-19)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2021

How to Cite

ปราบปราม ธีระญา. 2021. “ผลกระทบการเรียนรู้ในวิชานิติศาสตร์จากกรณีการระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 4 (2):128-60. https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.6.