การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล: ข้อสังเกตเปรียบเทียบกฎหมายประเทศออสเตรเลีย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.9คำสำคัญ:
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา, สินสมรส, หลักความเป็นธรรมในการแบ่ง, บรรทัดฐานรักต่างเพศ, บทบาททางเพศ, ปิตาธิปไตย, งานดูแลที่ไม่มีค่าตอบแทนบทคัดย่อ
บทความนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาหลักกฎหมายครอบครัวประเทศออสเตรเลียที่มีหลักการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่น่าสนใจ คือ ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอาจใช้ดุลพินิจแบ่งทรัพย์สินแก่สามีภริยาในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันก็ได้หากข้อเท็จจริงปรากฏจากปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าการแบ่งเท่ากันอาจไม่เป็นธรรมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปัจจัยหนึ่งคือหลักการทำมาหาได้ซึ่งนำเอางานดูแลที่ไม่มีค่าตอบแทน (unpaid care work) เช่น งานบ้าน งานเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น มาเป็นฐานในคำนวณว่าสามีหรือภริยามีส่วนในการทำให้ทั้งสองฝ่ายได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้กฎหมายยังให้ผู้พิพากษาคำนึงถึงพฤติการณ์ในอนาคตหลังการหย่าโดยเฉพาะสวัสดิภาพของบุตรมาคำนึงประกอบด้วย ต่างจากหลักการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามหลักกฎหมายปัจจุบันของประเทศไทยกรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลที่กฎหมายกำหนดเพียงแต่ให้ผู้พิพากษาพิพากษาให้แบ่งสินสมรสแก่สามีภริยาในสัดส่วนที่เท่ากัน นำมาสู่การตั้งคำถามว่าเหตุใดกฎหมายของทั้งสองประเทศมีหลักการแบ่งทรัพย์สินแตกต่างกัน และหลักการแบ่งสินสมรสให้สามีภริยาได้ส่วนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยหรือพฤติการณ์อื่นด้วยนั้นเป็นการแบ่งที่เป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร
Downloads
References
ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว, พิมพ์ครั้งที่ 17 (กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภาพ, 2552)
พิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย) และคณะ, คำอธิบายลักษณผัวเมีย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์, 2461)
ยุพาพรรณ์ กิจวัตร์, การจัดการสินสมรส, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534)
วเกศราพร ทองพุ่มพฤกษา, ภาพตัวแทนของความเป็นเพศหญิงในหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็ก, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารวิทยา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย, หลักสูตรอบรมออนไลน์ Domestic Violence (DV) Learning [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dvlearning.tijthailand.org/course/1/1/4
สำนักงานศาลยุติธรรม, รายงานการฝึกอบรมเรื่อง “เทคโนโลยีการช่วยเจริญพันธุ์” และ “การหย่าและระบบการประนอมข้อพิพาทในคดีหย่าของสหรัฐอเมริกา” การฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายเกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัว ณ New York University ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 8–23 กรกฎาคม 2561 (2561)
Belinda Fehlberg and others, Australian Family Property law: ‘Just and Equitable’ Outcomes? [Online], Source: https://www.lexisnexis.com.au/__data/assets/pdf_file/0008/340892/Australian-family-property-law-Just-and-equitable-outcomes-2018-32-AJFL-81.pdf
Caroline Criado Perez, Invisible Women: Data Bias in A World Designed for Men, (London: Chatto & Windus, 2019)
Grania Sheehan and others, Division of Matrimonial Property in Australia [Online], Source: https://www.researchgate.net/publication/2376 27231_Division _of_Matrimonial_Property_in_Australia
Jane Mair and others, Built to Last: The Family Law (Scotland) Act 1985 – 30 Years of Financial Provision on Divorce (Research Report, Nuffield Foundation, 2016)
Laura Addati and others, Care Work and Care Jobs for the Future of Decent Work, [Online], Source: https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---dgreports/---dcomm/---publ/documents/publication/wcms_633166.pdf
Patrick Parkinson Am, Family Property Division and the Principle of Judicial Restraint, UNSW Law Journal, Volume 41 Issue 2 (2018)
The Family Law Act 1975 [Online], Source: https://www.legislation.gov.au/Details/C2023C00448
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.