แนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงาน

ผู้แต่ง

  • วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พนักงานตรวจแรงงาน, การตรวจแรงงาน, การค้ามนุษย์, การจ้างแรงงานเด็ก, การบังคับใช้แรงงาน

บทคัดย่อ

การค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงานเป็นปัญหาเกี่ยวกับการแรงงานที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กฎหมายแรงงานจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทั้งสามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังต้องอาศัยมาตรการตามกฎหมายอื่น ๆ ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่และหน่วยงานต้นสังกัดที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวยังไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และมีความจำเป็นต้องจัดทำแนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้เกิดการประสานการปฏิบัติหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในการจัดทำแนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงาน จำเป็นต้องพิจารณากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจแรงงานและพนักงานตรวจแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ จากการศึกษา จะพบว่าแนวดังกล่าวพึงประกอบไปด้วยสองส่วนสำคัญอันได้แก่ ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติหน้าที่ และการอ้างอิงพร้อมกับเอกสารประกอบ เพื่อให้เข้าใจถึงภาพรวมในการปฏิบัติหน้าที่ในเบื้องต้นแล้วจึงลงรายละเอียดในลำดับถัดมา นอกจากนี้ ยังพึงมีกลไกเสริมโดยการใช้สัญลักษณ์ประกอบคำแนะนำในการใช้แนวทางดังกล่าวด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561).

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล, กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ ทฤษฎี “กฎ” ในทางเศรษฐศาสตร์,(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560).

นันทวัฒน์ บรมานันท์, กฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 5 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, สิทธิมนุษยชนกับการคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ, วารสารกฎหมายสิทธิมนุษยชน, ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 (2563).

สุดาศิริ วศวงศ์ และคณะ, แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเด็ก, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร: 2542).

สุรพล นิติไกรพจน์, หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส, วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 (2539).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ระบบราชการไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 [ออนไลน์],แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/thai-gov-system-context-thailand-4-0.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, ระบบราชการ 4.0 [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://opdc.go.th/file/reader/aXx8NTB8fGZpbGVfdXBsb2Fk

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.opdc.go.th/file/reader/U1d8fDU2NTh8fGZpbGVfdXBsb2Fk

อมรรัตน์ สุนทร, ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานค้ามนุษย์การเอาคนลงเป็นทาส และการบังคับใช้แรงงาน, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562).

อรทัย ก๊กผล และคณะ, แนวทางการพัฒนาระบบตรวจราชการแบบบูรณาการ, วารสารสถาบันพระปกเกล้า, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (2561).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10.07.2024

How to Cite

ราชประดิษฐ์ วิมพัทธ์, ทวีแจ่มทรัพย์ ศุภศิษฏ์, และ เอี่ยมจำรูญลาภ ปิติ. 2024. “แนวทางการใช้อำนาจรัฐของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การจ้างแรงงานเด็ก และการบังคับใช้แรงงาน”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2024 (7):290-330. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MFULJ/article/view/2671.