ปัญหาความเป็นอิสระทางงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญ ของประเทศไทย ศึกษากรณี: การยื่นคำขอและการได้รับจัดสรรงบประมาณ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงศ์ พรหมมาตร นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภูริวัฒน์ จิรานันตรัตน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีข้อมูล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.12

คำสำคัญ:

ความเป็นอิสระทางงบประมาณ, ศาลรัฐธรรมนูญ, การยื่นคำของบประมาณ, การได้รับจัดสรรงบประมาณ

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 141 วรรคสองได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของศาลเพื่อเป็นหลักประกันหลักความเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารในการบริหารงบประมาณ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีอิสระและประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่า กระบวนการหรือขั้นตอนในการยื่นคำของบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะองค์กรศาลนั้นกลับมีวิธีการเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐทั่ว ๆ ไป โดยจะต้องปฏิบัติตามแนวทางของสำนักงบประมาณ และยังพบว่าศาลรัฐธรรมนูญถูกพิจารณาปรับลดงบประมาณในขั้นตอนการพิจารณาของส่วนต่าง ๆ ทั้งที่มีหลักประกันความเป็นอิสระทางงบประมาณของศาลบัญญัติรับรองในรัฐธรรมนูญ การศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดนิยามคำว่า “ความเป็นอิสระทางงบประมาณ” ไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับหลักประกันความเป็นอิสระทางงบประมาณตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง การเสนอคำของบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรของฝ่ายบริหาร เพราะอาจจะกระทบต่อความอิสระในการปฏิบัติงานของศาลได้ และมีกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จหรือตัวชี้วัด (KPI) เป็นการเฉพาะตามภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญ

Downloads

Download data is not yet available.

References

บรรเจิด สิงคะเนติ, การบริหารศาลรัฐธรรมนูญไทยเปรียบเทียบกับศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน, เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม, (กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559).

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 1 (กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทิฟพริ้น จำกัด, 2561).

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติ มาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560, สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร: 2564).

สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายการคลัง ภาคงบประมาณแผ่นดิน, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2565).

เสถียร คามีศักดิ์, การกำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะข้าราชการพลเรือน พนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ในสถาบันอุดมศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2556).

ปัญญา อุดชาชน, ปัญญา อุดชาชน, การพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารกระบวนการยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560).

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ความเป็นอิสระทางงบประมาณของส่วนราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 193, (เอกสารประกอบการสัมมนาประเด็นรัฐธรรมนูญระหว่างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 20 – 22 กรกฎาคม 2566 จังหวัดนครราชสีมา).

อัญชลี ทองอุ่น, ปัญหาการใช้จ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นของประเทศไทย, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2566).

อานันท์ กระบวนศรี, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายการคลัง, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2566).

เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายการคลัง, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2565).

International Commission of Jurist, หลักการสากลว่าด้วยความเป็นอิสระและความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้พิพากษา ทนายความ และอัยการ แนวทางสำหรับนักปฏิบัติ ลำดับที่ 1 (ฉบับภาษาไทย) [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.icj.org/wp-content/uploads/2009/07/International-Principles-on-the-Independence-and-Accountability-of-Judges-Lawyers-and-Procecutors-No.1-Practitioners-Guide-series-2009-thai.pdf

Punya Udchachon, The Independence of the Constitutional Court in the Modern World, Constitutional Court Jornal, Volume 49 (January – April 2015)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10.07.2024

How to Cite

พรหมมาตร ณัฐพงศ์, และ จิรานันตรัตน์ ภูริวัฒน์. 2024. “ปัญหาความเป็นอิสระทางงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญ ของประเทศไทย ศึกษากรณี: การยื่นคำขอและการได้รับจัดสรรงบประมาณ”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2024 (7):16-47. https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.12.