เล่าเรื่องคดีอาญา : การใช้ดุลพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษ และเงื่อนไขในการคุมประพฤติจำเลย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.4คำสำคัญ:
การรอการกำหนดโทษ, การรอการลงโทษ, ดุลพินิจ, หลักการลงโทษให้เหมาะสมกับผู้กระทำความผิดแต่ละคนบทคัดย่อ
แม้บทบัญญัติในมาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมายอาญาจะมิได้มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาตรีในส่วนการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการรอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษและกำหนดเงื่อนไขในการคุมประพฤติจำเลยมากนัก แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ทั้งเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ มีเหตุผลรองรับและต้องสอดคล้องกับตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและหลักอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา บทความนี้จึงมุ่งเล่าเรื่องผ่านคดีอาญาสองเรื่องเป็นฉากหลัง โดยในส่วนท้ายของบทความจะเปิดช่องในผู้อ่านได้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษ รวมถึงการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษและการกำหนดเงื่อนไขในการคุมประพฤติแก่จำเลยแต่ละคนที่มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดคล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียดในการกระทำความผิดเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านโดยเฉพาะนิสิตนักศึกษากฎหมายได้เข้าใจในหลักการและแนวคิดเบื้องหลัง รวมถึงตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการวิเคราะห์และให้เหตุผลซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับนักกฎหมายDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
01.01.2021
How to Cite
เกราะแก้ว ภรณี. 2021. “เล่าเรื่องคดีอาญา : การใช้ดุลพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือการรอการลงโทษ และเงื่อนไขในการคุมประพฤติจำเลย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 4 (1):99-117. https://doi.org/10.14456/mfulj.2021.4.
ฉบับ
บท
นักกฎหมายเล่าเรื่อง
License
Copyright (c) 2021 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.