ข้อพิพาทเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา: ศึกษากรณีสถานะทางกฎหมายของเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 ในคดีปราสาทพระวิหาร

ผู้แต่ง

  • เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา อาจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.4

คำสำคัญ:

แผนที่ภาคผนวก 1, เขตแดนไทย-กัมพูชา, แผนที่

บทคัดย่อ

เขตแดนระหว่างประเทศเป็นข้อบ่งชี้สำคัญอย่างหนึ่งต่อการมีดินแดนที่แน่นอนของรัฐเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นๆ การกำหนดเขตแดนและกลไกการสร้างสร้างเส้นเขตแดนจึงเป็นเรื่องสำคัญระหว่างรัฐที่มีอาณาเขตประชิดติดกัน ซึ่งโดยทั่วไปการกำหนดเขตแดนมักจะปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศรูปแบบอื่น และมีคณะกรรมการผสม (Joint Commission) ร่วมกันกำหนดเขตแดนหรือจัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดน แผนที่จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก แผนที่บางฉบับได้รับการยอมรับในฐานะส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา และบ่อยครั้งแผนที่จะถูกนำเสนอต่อศาลเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดน ซึ่งศาลจะให้น้ำหนักคุณค่าของหลักฐานแผนที่หรือไม่เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับที่มาหรือความน่าเชื่อถือของแผนที่นั้นๆ   กรณีเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากหลักการกำหนดเขตแดนโดยทั่วไป เขตแดนของสองฝ่ายถูกสถาปนาขึ้นโดยสนธิสัญญาเขตแดนหลายฉบับระหว่างสยามกับฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากปัญหาและข้อพิพาททางเขตแดนที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆจนกระทั่งปัจจุบัน สนธิสัญญาฉบับสำคัญๆ ที่ถูกใช้เป็นกลไกในการสำรวจและปักปันเขตแดน คือ สนธิสัญญา ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ. 1907 หนึ่งในปัญหาเขตแดนทางบกที่สำคัญ คือ อะไรคือเส้นเขตแดนในบริเวณเขาดงรัก เนื่องจากไทยถือเอาเส้นสันปันน้ำตามความที่ปรากฏใน ข้อ 1 ของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 แต่กัมพูชาถือเอาเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 ที่เสนอต่อศาลในคำฟ้องเริ่มต้นคดีปราสาทพระวิหาร โดยถือว่าทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับเส้นนี้เป็นเขตแดนแล้ว มุมมองเกี่ยวกับเส้นเขตแดนที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนำไปสู่ข้อพิพาทเขตแดน และการปะทะตามแนวชายแดนเป็นระยะๆ จนนำไปสู่การเสนอคดีต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกวาระหนึ่งในคดีคำขอตีความ แต่ศาลจำกัดข้อพิพาทของทั้งสองฝ่ายเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร แม้ศาลจะได้หยิบยกเรื่องเส้นบนแผนที่ขึ้นพิจารณาในฐานะที่เป็นหลักฐานส่วนเหตุผล แต่ก็ไม่ได้ชี้ขาดถึงสถานะทางกฎหมายของเส้น ทำให้เส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 ยังคงคลุมเครือและเป็นไปตามการตีความของแต่ละฝ่าย

ผู้วิจัยสรุปได้ว่า เส้นบนแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นการกระทำฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสและหลังนั้นได้รับการยอมรับนับถือโดยกัมพูชาที่สืบสิทธิมาจากฝรั่งเศส แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการและชัดแจ้งโดยรัฐบาลไทยว่าเป็นเส้นเขตแดนระหว่างสองฝ่าย ศาลไม่อาจอนุมานจากการประพฤติปฏิบัติที่คลุมเครือมีข้อโต้แย้งเพื่อแสดงว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ และอาศัยการตีความให้แผนที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาได้โดยไม่ได้มีการแสดงออกซึ่งความยินยอมของทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นคุณต่อเส้นบนแผนที่ มากกว่าข้อบทที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้ง แผนที่และเส้นบนแผนที่จึงไม่อาจจะมีคุณค่าในฐานะหลักฐานแผนที่ และไม่อาจมีผลผูกพันทางกฎหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, ประวัติศาสตร์ของการเจรจาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของยูเนสโก, พฤศจิกายน 2011.

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, รายการเอกสาร เรื่อง ผลการกระประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission-JBC), สิงหาคม 2553.

กระทรวงการต่างประเทศ, ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชา, 2554.

กระทรวงการต่างประเทศ, คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ฉบับภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลภาษาไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรกฎาคม 2557.

จันตรี สินศุภฤกษ์, กรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร:บริบททางกฎหมายและการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 1, ( กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2557).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประมวลสนธิสัญญา อนุสัญญา ความตกลง บันทึกความเข้าใจ และแผนที่ ระหว่างสยามประเทศไทยกับประเทศอาเซียนเพื่อนบ้าน : กัมพูชา-ลาว-พม่า-มาเลเซีย, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505-2551, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ:มิติชน, 2551).

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนาพาณิช, ศาลโลก-ศาลประจำอนุญาโตตุลาการกับข้อพิพาทระหว่างประเทศ, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2554).

พวงทอง ภวัครพันธุ์ ไอดา อรุณวงศ์ พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ (แปล),ธงชัย วินิจกุล, กำเนิดสยามจากแผนที่ประวัติศาสตร์ภูมิกายาขิงชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์,2556).

เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา, หลักกฎหมายสนธิสัญญาตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2560).

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายระหว่างประเทศ, พิมพ์ครั้งที่ 17, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558).

โรม บุนนาค, เขาพระวิหาร ไทยเสียดินแดนครั้งสุดท้าย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามบันทึก, 2551).

สุวิทย์ ธีรศาสวัต, เบื้องลึกการเสียดินแดนและปัญหาปราสาทพระวิหาร จาก ร.ศ.112 ถึงปัจจุบัน, (กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีจำกัด, 2553).

อัครพงษ์ ค่ำคูณ, เขตแดน พรมแดนและชายแดนระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556).

Alec McEwen, The Demarcation and Maintenance of International Boundaries, A paper prepared for the Canadian Commissions of the Canada/United States International Boundary Commission, July 2002.

Guenter Weissberg, Maps as Evidence in International Boundary Disputes: A Reappraisal, The American Journal of International Law, Vol. 57, No. 4, (October 1963).

H. Lauterpacht, Oppenheim’s International law, Vol. I, (London: Longmans Green and Co.,1985).

Hyung K. Lee, Mapping the Law of Legalizing Maps: The Implications of the Emerging Rule on Map Evidence in International Law, Washington International Law Journal, Volume 14, Number 1, (January 2005).

Keith Highet, Evidence, the Court, and the Nicaragua Case, The American Journal of International Law, Vol. 81, No. 1, (1987).

L. Oppenheim, International Law, (London: Stevens & Sons Ltd, 1945).

Malcom Anderson, Frontiers: Territory and State Formation in the Modern World. (Oxford: Polity Press, 1997).

Sir Henry McMahon, International Boundaries, in Journal of the Royal Society of Arts, vol. 84 (May 1936).

Yearbook of International Law Commission, Draft Article on the Law of Treaties with Commentary adopted by the International Law ,Commission at its 18th Session, 1966, vol.II.

Durward v. Sandifer, Evidence before International Tribunals, 2d edition,(Charlottesville : University Press of Virginia, 1975).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22.01.2024

How to Cite

ศรีวุทธิยประภา เพชรณพัฒน์. 2024. “ข้อพิพาทเขตแดนทางบกระหว่างไทยและกัมพูชา: ศึกษากรณีสถานะทางกฎหมายของเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 ในคดีปราสาทพระวิหาร”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 7 (1):121-68. https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.4 .