กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานในการดูแลบุตรผู้เยาว์ของผู้ปกครอง: กรณีผู้ปกครองทิ้งเด็กโดยประมาทเลินเล่อ

ผู้แต่ง

  • ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2020.7

คำสำคัญ:

สิทธิเด็ก, มาตรฐานการดูแลบุตรผู้เยาว์, การทิ้งเด็กโดยประมาทเลินเล่อ

บทคัดย่อ

การเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นหน้าที่หลักของผู้ปกครองทั้งในมิติทางกฎหมายและศีลธรรมจรรยา ดังนั้น การดูแลบุตรผู้เยาว์จึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ปกครอง กฎหมายมีบทบาทสำคัญในการวางมาตรฐานของการดูแลโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของเด็กเป็นหลัก เมื่อมีแนวทางที่ชัดเจนตามกฎหมาย ผู้ปกครองและประชาชนจะได้รับทราบถึงมาตรฐานขั้นต่ำที่ผู้ปกครองควรกระทำในการดูแลบุตรของตน และสามารถแยกแยะการกระทำที่ประมาทเลินเล่อและมีโทษตามกฎหมายจากการกระทำที่เป็นวิธีการเลี้ยงดูเด็กที่แตกต่างกันตามขนบธรรมเนียมและประเพณีได้ กรณีผู้ปกครองทิ้งเด็กไว้โดยปราศจากผู้ดูแลหรือผู้ดูแลที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทิ้งเด็กไว้ในรถยนต์หรือทิ้งเด็กไว้ในบ้านนั้นควรมีกฎหมายที่บัญญัติห้ามไว้ชัดเจนในลักษณะที่เป็นการกำหนดมาตรฐานว่ากรณีใดถือว่าผู้ปกครองนั้นทิ้งเด็กโดยประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้ปกครองใช้ความระมัดระวังในการดูแลบุตรผู้เยาว์เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กตามสิทธิเด็กที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมาย และควรให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการตักเตือนผู้ปกครองให้ตระหนักรู้ถึงอันตรายอันอาจเกิดจากการทิ้งบุตรผู้เยาว์โดยปราศจากผู้ดูแลอันเป็นการป้องกันความเสียหายมากกว่าการลงโทษเมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.07.2020

How to Cite

โรจน์ศิริรัตน์ ประภาภรณ์. 2020. “กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานในการดูแลบุตรผู้เยาว์ของผู้ปกครอง: กรณีผู้ปกครองทิ้งเด็กโดยประมาทเลินเล่อ”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 3 (2):15-34. https://doi.org/10.14456/mfulj.2020.7.