ปัญหาการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2024.15คำสำคัญ:
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, สิทธิผู้สูงอายุ, พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทคัดย่อ
การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นสิทธิของผู้สูงอายุที่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 แต่การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสบปัญหาการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับเงินสวัสดิการอื่นที่ผู้สูงอายุได้รับอันเป็นการขัดต่อระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2552 ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติและระเบียบกระทรวงมหาด
ไทยที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐเป็นเงื่อนไขที่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
จึงจำเป็นต้องยกเลิกระเบียบดังกล่าวและกำหนดหลักเกณฑ์ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
ปัจจุบันการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด แต่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว
กระทรวงมหาดไทยจึงต้องนำหลักเกณฑ์คุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วเนื่องจากมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายกลับมาใช้ไปพลางก่อน
จึงมีปัญหาต่อมาว่าระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งยกเลิกไปแล้วนั้นจะสามารถนำมาใช้บังคับได้หรือไม่
ซึ่งหากพิจารณาโดยอาศัยหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและกฎรวมทั้งหลักความชอบด้วยกฎหมายของสิทธิผู้สูงอายุแล้ว
ระเบียบดังกล่าวย่อมไม่อาจนำมาใช้บังคับไปพลางก่อนได้ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่าต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพจึงต้องเร่งออกระเบียบเพื่อใช้บังคับต่อไปโดยเร็ว
Downloads
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2565).
ณิชชา บูรณสิงห์ และสาธิต ประเสริฐศักดิ์, สวัสดิการผู้สูงอายุ [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/welfare/download/article/article_20120516063121.pdf
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2565).
ธนัตถ์วนันท์ เอียดพวง, การประเมินโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์แทน จังหวัดนครนายก, (สารนิพนธ์ปริญญาโทหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554).
ธัญวรัตน์ แจ่มใส, นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทย, วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2564).
ประสพ รัตนากร, บริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย, เอกสารประกอบการสัมมนาระดับชาติ เรื่อง บริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ โรงแรมอินทรารีเยนต์ วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2524.
ภังปกร เพชรน้อย, การประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี, วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน 2564).
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ, มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ : มุมมองเชิงจิตวิทยาสังคม และสุขภาพ = New Concept of Older Persons: The Psycho-Social and Health Perspective, พิมพ์ครั้งที่ 1 (นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556).
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, นวโกวาท, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:6727
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง (Fundamental Principles of Administrative Law), (กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538).
วรพชร จันทร์ขันตี, การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, (วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564).
วรพชร จันทร์ขันตี, แนวคิดในการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 39 ฉบับที่ 3 (พฤศจิกายน 2564).
วรเวศม์ สุวรรณระดา, ปฏิรูประบบบำนาญภาครัฐ : ก้าวสู่สังคมวัยบำนาญอันมั่นคงและระบบการคลังที่ยั่งยืน, (กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557).
วรเวศม์ สุวรรณระดา และคณะ, การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย, สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 12 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรุงเทพมหานคร: 2558).
วิชุดา สาธิตพร และคณะ, การสร้างความเป็นธรรมทางสังคมผ่านนโยบายสวัสดิการสังคม : กรณีศึกษาการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จากโครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2560).
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, บริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร: 2528).
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, แนวทางการจัดบริการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ, (กรุงเทพมหานคร:สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534).
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, คำอธิบายเบื้องต้นพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/static/page/simple/575/th.html
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, รวมความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ฉบับย่อที่น่าสนใจเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.krisdika.go.th/data/LDC/file/LDC6M2564.pdf
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://bit.ly/3Nk9HIi
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://bit.ly/3t9k0Yz
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://bit.ly/47OOApC
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://bit.ly/3uJguEH
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2566).
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2565, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=14053
เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ, โครงการส่งเสริมค่านิยมไทย “คุณค่าและศักดิ์ศรี” ในสังคมเมืองเพื่อฝ่าวิกฤตสังคมผู้สูงอายุ, (กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, 2559).
เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ, ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี, วารสารภาษาและวัฒนธรรม, ปีที่ 26 ฉบับที่ 1-2 (มกราคม - ธันวาคม 2550).
อภิญญา เวชยชัย, การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชน “โครงการเบี้ยยังชีพ”, (นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, 2544).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.